การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาเครือข่าย OTOP และ แหล่งท่องเที่ยวในเขตริมน้ำ อำเภอเมืองและอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

พุฒพัณณิน คำวชิระพิทักษ์
ทรงพลธนฤทธ์ มฤครัฐอินแปลง
มนัญญา คำวชิระพิทักษ์

Abstract

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลโอทอป-โอพีซี (OTOP Product Champion; OTOP OPC) สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  ระดับ 3 -5 ดาว ในปี พ.ศ. 2553 และข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ในอำเภอเมืองและอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี วิเคราะห์รัศมีการเข้าถึงระหว่างแหล่งผลิตภัณฑ์โอทอป-โอพีซี และแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมืองปทุมธานี  อำเภอสามโคก โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ จีไอเอส และ ระบบนำหน หรือ จีพีเอส  พบว่ามีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์โอทอป-โอพีซีอยู่ในอำเภอเมือง 22 ราย และอำเภอสามโคก 8 ราย ในด้านสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญตามรายการและบัญชีสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานี  มีจำนวนสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ในอำเภอเมือง  17  แห่ง และอำเภอสามโคก  14  แห่ง 

               ผลการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์และการแสดงเป็นแผนที่พร้อมนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ การกระจายตัวของโอทอป-โอพีซี และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ รัศมีการเข้าถึง เพื่อการเดินทางภายในอำเภอเมืองและอำเภอสามโคก พบว่า ในเขตอำเภอเมืองมีแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นศาสนสถานและอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา มีระยะห่างจากแหล่งผลิตสินค้าโอทอป-โอพีซี ส่วนแหล่งท่องเที่ยวประเภทศูนย์การเรียนรู้จะอยู่ใกล้แหล่งผลิตภัณฑ์โอทอปมากกว่า  ส่วนในเขตพื้นที่อำเภอสามโคก  แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศาสนสถานอยู่ริมน้ำ  ยังสามารถเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาสนับสนุนผลิตภัณฑ์โอทอป-โอพีซี ได้จากการเข้าถึงในระยะเดินเท้า 500 เมตร และ ระยะ 2 กิโลเมตร  ผลจากการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวพร้อมกับส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์โอทอป-โอพีซีต่อไป

 

 

                The research on GIS Database Making for network development OTOP and Places of Attractions along the riverside at Amphoe Sam Khok and Amphoe Mueang, Pathum Thani province aimed to create GIS database  OTOP Product Champion (OTOP OPC) 3-5 star in 2010 and  main tourist attractions in amphoe Sam Khok and amphoe Mueang, analysis of accessibility between source of OTOP-OPC and tourist attractions in Amphoe Sam Khok and Amphoe Mueang Pathum Thani with application of Geographic Information System (GIS)  and Global Positioning System (GPS). The results found that there are 22 of OTOP places  in Amphoe Mueang, 8 of OTOP places in Amphoe Sam Khok and 17 tourist attractions in Amphoe Mueang , 14 tourist attractions in Amphoe Sam Khok. 

               After analyzing the results of the GIS database and display on the map is complete.  The analysis of spatial relationship, distribution of OTOP-OPC places from the main tourist attractions, analysis of accessibility found that in Amphoe Mueang, the most tourist attractions are religious places,   located near the Chao-praya river but far from OTOP-OPC places. The tourist attractions, Learning Center are closer. In Amphoe Sam Khok, the religious places near the river are accessible by walking distance from 500 meters and 2 kilometers. These results will be useful for Tourism Government in promoting the development of tourism and helpful promoting OTOP-OPC markets in the future.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

พุฒพัณณิน คำวชิระพิทักษ์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ทรงพลธนฤทธ์ มฤครัฐอินแปลง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์   จังหวัดปทุมธานี

มนัญญา คำวชิระพิทักษ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

References

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2555). บรรยายสรุปจังหวัดปทุมธานี[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://103.28.101.10/briefprovince/filedoc/13000000.pdf,

ธันวาคม 2558.

ชลาวัล วรรณทอง สุพรรณี ชะโลธร และ จุมพล วิเชียรศิลป์. (2558). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด

บุรีรัมย์ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ. รมยสาร. 13 (1): 175-189.

ธันยา นวลละออง. (2547). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒธรรม จังหวัดปทุมธานี.วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จากhttp://www.thaitambon.com/Provinces/Pathumthani.htm, 2 พฤศจิกายน 2554.

บุษราภรณ์ มหัทธนชัย. (2552). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP ของตำบลสะลวง

อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารราชภัฏเชียงใหม่. 42-49.

แผนพัฒนาจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2557-2560 [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.pathumthani.go.th/551017.pdf, 21 ธันวาคม 2558.

พิพัฒน์ นวลอนันต์ และศศิธร อินทร์ศรีทอง.(2555). รายงานการวิจัย โครงการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ

ภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ในการจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ตำบลหนอง

หมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ.

พุฒพรรณี ศีตะจิตต์ น้ำฝน ศีตะจิตต์ และทรงพลธนฤทธ์ มฤครัฐอินแปลง. (2556). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและเครือข่าย OTOP-OPC ในจังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา ครั้งที่ 3. วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์2556. 659-666.

พัชรินทร์ เสริมการดี และธีระ สุภเพียร. (2558). เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน: สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

(OTOP) ในอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6.

วันที่ 26 มิถุนายน 2558. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 1042-1052.

ภคินี ดีรัศมี และ ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล. (2552). แนวคิดในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการ

หาทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าสำหรับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี.

การประชุมสัมมนาวิชาการด้านการจัดการโลจีสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 9 (ThaiVCML2009). วันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2552. 283-292.

รัศมี สุวรรณ วีระกำธร ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์ วิเชียร เกิดสุข บังอร ยมมรคา วาสนา พุฒกลางองค์การ

อินทรัมพรรย์ สาคร กือเจริญ และฉัตรฤดี สมบัติธรรม. (2549). การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาและการกระจายเชิงภูมิศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย. 7 (3): 66-78.