บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารจัดการความขัดแย้งของชุมชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระมหาจำเนียร พระครูสิริสุตโสภณ คำสุข
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์
สอาด บรรเจิดฤทธิ์
บุญเรือง ศรีเหรัญ

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อการศึกษาบทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารจัดการความขัดแย้งของชุมชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร  2. เพื่อการศึกษาลักษณะความขัดแย้งในชุมชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร  และ 3. เพื่อการศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร  การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 481 คน ประกอบด้วย พระสงฆ์ จำนวน 81 รูป และประชาชนที่อยู่ในจังหวัดพิจิตร จำนวน 400 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณ สูตร ทาโร่ ยามาเน่ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test

              ผลการวิจัย พบว่า 1. บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารจัดการความขัดแย้งของชุมชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยรวมมีบทบาทและมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชุมชน ในการเป็นศูนย์รวมจิตใจเป็นศูนย์กลางการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแก้ปัญหาในชุมชนในการพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ช่วยเหลือให้ชาวบ้านมีอยู่มีกิน ไม่ต้องลำบากไปซื้อเขากิน โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยรวมบทบาทพระสังฆาธิการกับชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับดี  2. ลักษณะความขัดแย้งในชุมชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร  โดยรวมเกิดจากด้านทรัพยากร ปัญหาหนีสินส่วนบุคคล โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยรวมของพระสังฆาธิการมีลักษณะความขัดแย้งในชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับดี 3. แนวทางการในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชนชุมชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร มีศึกษาข้อมูล สาเหตุและผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งหลังจากได้รับแจ้งเหตุแล้ว การสร้างข้อตกลงในการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อนการเปิดเวทีการเจรจาไกล่เกลี่ย ผู้นำการเจรจาจะแจ้งข้อตกลงร่วมกัน ในการเปิดการเจรจาจะมีผู้เข้าร่วมในการเจรจาไกล่เกลี่ย โดยรวมอยู่ในระดับดี 

 

              This research aimed 1. to study the Buddhist Monks’ Role on conflicts management in Phichit Province. 2. to study the nature of conflict in the phichit province. and 3. to study guidelines resolving conflicts in communities in phichit province. The research is a quantitative research conducted by data collection questionnaire from a sample of 481 people including priests, 81 and the people that were in Phichit Province 400 The sample size with the calculation formula Taro Yamane and analyze data. the arithmetic mean and standard deviation, F-test and t-test

              The findings of this article 1. The Buddhist Monks’ Role on conflicts management in Phichit Province. Overall was very importance to the community. In the center is the heart and soul of community involvement. To solve problems in the community to develop the well-being of residents. Help the locals are eating there. He seemed not to eat. The data were analyzed by the Buddhist Monks community. Overall a good level 2. the nature of conflict in the province of phichit province. Overall the resource The problem of personal debt The data were analyzed by the Buddhist Monks has a conflict in the community. Overall a good level               3. approaches to resolving conflicts in communities in phichit province. A study The causes and consequences of the conflict and then after receiving notification. The agreement in mediation before the opening stage of negotiation. The leaders will negotiate a joint agreement. In an open dialogue with the participants in the negotiation. Overall a good level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

พระมหาจำเนียร พระครูสิริสุตโสภณ คำสุข

นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมถ์

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์

อาจารย์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์

สอาด บรรเจิดฤทธิ์

อาจารย์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์

บุญเรือง ศรีเหรัญ

อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมถ์

References

กันต์กมล ไชยราช. (2551). ผู้นำท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน : กรณีศึกษาอำเภอพิบูลย์รักษ์

จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต(การเมืองการปกครอง).กรุงเทพฯ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จิรศักดิ์ ชํานาญเวช. (2550). แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันตวิธิี : กรณีศึกษาการทะเลาะวิวาท

ของวัยรุ่นในชุมชนชนบท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชลากร เทียนส่องใจ. (2553) .การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลางเชิงพุทธ:หลักการและเครื่องมือสาหรับการจัดการ

ความขัดแย้ง. วิทยานิพนธ์นี้ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประพัฒน์ วงศ์ชมพู. (2551). บทบาทกำนัน ผู้ใหญ่บ้านกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษา

กรณีเฉพาะกรณีอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตร

มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระสมุห์กาพร สุชาโต. (2554). บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในอำเภอทองผาภูมิ

จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพรินทร์ กะทิพรมราช. (2547). พุทธปรัชญาเถรวาทกับปัญหาเรื่องความรู้เกี่ยวกับโลกภายนอก.

วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต.คณะอักษรศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2550). ความขัดแย้งหลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. ขอนแก่น : โรง

พิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.

สุพัตรา จิตตเสถียร. (2550). การจัดการความขัดแย้งในสถานพยาบาลของรัฐระดับจังหวัด.

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โสต สุตานันท์ . (2553). การไกล่เกลี่ยแนวพุทธ และสากล. ดุลพาห, ปีที่ 57 เล่มที่1 (มกราคม-เมษายน

: 198-209.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2552). ภูพานมหาวนาสี. ศิลปวัฒนธรรม. 30(5): 140-153.

เสาวพงษ์ ยมาพัฒน์. (2553). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Kimberlee K. K. (1994). Mediation Principles and Practice. St. Paul, Minnesota:

West Publishing Company.