รูปแบบโครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

นิตยา วีระพันธ์
สุวรรณา โชติสุกานต์
อรสา จรูญธรรม

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา 3. สร้างและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน  580 คน
สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ (Frequency)  ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) วิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis)

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) โดยมีด้านการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการเรียน และความสามารถในการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.54) รองลงมา คือ การพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก ( = 4.54) ส่วนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.50)

              2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยความพึงพอใจในการทำงาน ( = 4.54) รองลงมา คือ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร ( = 4.53) ส่วนปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( = 4.51)

              3. ค่าสถิติความสอดคล้องของความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้ศึกษากับข้อมูล
เชิงประจักษ์ ได้แก่ ค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 531.42 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 179 c2/df เท่ากับ 2.96 GFI เท่ากับ 0.87 AGFI เท่ากับ 0.83 NFI เท่ากับ 0.98 IFI เท่ากับ 0.98 CFI เท่ากับ 0.98 RMR เท่ากับ 0.01 RMSEA เท่ากับ 0.08 สรุปได้ว่าโมเดลที่ได้มี ความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

 

 

               The purposes of this research were to 1. study the administration efficiency of the secondary schools under the Office of Basic Education Commission, 2. study the factors affecting the administration efficiency of the secondary schools, and 3. develop and validate the relationship model of causal factors affecting the administration efficiency of the secondary schools. The sample was 580 chairmen of Basic Education Commission. The statistics used for the research were mean, standard deviation, exploratory factor analysis (EFA), confirmatory factor analysis (CFA), and path analysis.

              The results were as follows:

              1. The study the administration efficiency of the secondary schools under the Office of Basic Education Commission revealed that the overall level of factors affecting the administration efficiency of the secondary schools under the Office of Basic Education Commission was at the highest level. When considering each aspect, every factor also had the highest average level. The highest average level of all was the ability to solve the problems within schools. The second highest was the adaptation and development of the study. The aspect with the least average level was the development of students toward positive attitude.

              2. The study the factors affecting the administration efficiency of the secondary schools revealed that the overall level of factors affecting the administration efficiency of the secondary schools was at the highest level. When considering each aspect, the factor with the highest average level was the transformational leadership. The second highest was the organizational culture. The aspect with the least average level was the job satisfaction.

              3. The development and validation of the relationship model of causal factors affecting the administration efficiency of the secondary schools revealed that the statistics used for validating the consistency of the relationship of the causal factors affecting the administration efficiency of the secondary schools under the Office of Basic Education Commission were consistent with the empirical data, with Chi-square (c2) of 324.48, degree of freedom (df) of 114, c2/df of 2.85, GFI of 0.93, AGFI of 0.90, NFI of 0.97, IFI of 0.98, CFI of 0.98, RMR of 0.03, and RMSEA of 0.08.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

นิตยา วีระพันธ์

นักศึกษาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

สุวรรณา โชติสุกานต์

ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์

อรสา จรูญธรรม

กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์

References

ถาวรศักดิ์ เทพชาตรี. (2550) อิทธิพลของปัจจัยภูมิหลัง ภาวะผู้นำขวัญกำลังใจ และการรับรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ปริญญาการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (ถ่ายสำเนา)

ธร สุนทรายุทธ. (2553). การบริหารจัดการเชิงจิตวิทยา : หลักการการประยุกต์ และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.

พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของสาขาวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันราชภัฏ. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมชาย เทพแสง.(2548). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการจัดคุณภาพโดยรวมของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (ถ่ายเอกสาร)

สุวรรณา โชติสุกานต์. (2551). ปัญหาและแนวโน้มทางการศึกษาในท้องถิ่น. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554). กรุงเทพฯ : สไตล์คริเอทีฟเฮ้งส์ จำกัด.

สำนักงานรับรองมาตรฐาน และคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). การประชุมวิชาการระดับชาติ พ.ศ. 2555 “การประกันคุณภาพการศึกษาไทยใต้ร่มพระบารมี”. กรุงเทพฯ : สไตล์คริเอทีฟเฮ้งส์ จำกัด.

วิเชียร วิทยอุดม. (2551). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ : ธนรัชการพิมพ์จำกัด.

Avolio, B,J., & Bass, B.M. (2002). Manual for the Multifactor Leadership Question-naire (Form 5X). Redwood City, CA : Mindgarden.

Miskel, C.D. (1983). David Mc Donald and Susan Bloom. “Structural and Expectancy Linkages within School and Organizational Effectiveness”. Educational Administration Quarterly. 19(1) : 49-82 : winler