การเตรียมตัวเกษียณอายุราชการ ของผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และการเตรียมตัวเกษียณอายุราชการ ของผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาการสร้างทฤษฎีฐานราก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้บริหารของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาที่จะเกษียณอายุราชการภายในช่วง 5 ปี (พ.ศ.2559-พ.ศ.2563) จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีแปลความหมาย ตีความและจัดกลุ่มมโนทัศน์ โดยอาศัยความไวเชิงทฤษฎี ผลการวิจัย พบว่า การเกษียณอายุมี 3 ความหมาย ได้แก่ 1. การสิ้นสุดการรับราชการโดยพิจารณาจากศักยภาพของสมองและความสามารถในการทำประโยชน์ให้กับราชการได้ 2. การหยุดพักทำงานรับใช้องค์การและประเทศชาติตามกฎหมายกำหนด และ 3. การสิ้นสุดการทำงานเป็นการได้หยุดพักผ่อนและเริ่มชีวิตใหม่ สำหรับการเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุจะต้องมีการเตรียมพร้อม 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการเงินและทรัพย์สิน 2. ที่อยู่อาศัย 3.ร่างกาย 4. จิตใจ และ 5. ด้านการใช้เวลาว่าง ทั้งนี้ จากการศึกษามีข้อสรุปเชิงทฤษฎีของการเตรียมตัวเกษียณอายุ ได้แก่ 1. เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริหารสามารถวางแผนการเกษียณอายุเตรียมตัวด้านการเงินและทรัพย์สิน เมื่อนั้นชีวิตหลังเกษียณอายุเกิดความสุข และไม่เป็นภาระหนี้สินต่อครอบครัวหรือลูกหลาน 2. เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริหารมีการเตรียมตัวเกษียณอายุ ด้านการเงินและทรัพย์สิน ด้านที่อยู่อาศัย และด้านสุขภาพร่างกาย ตั้งแต่อายุราชการยังน้อย เมื่อนั้นผู้บริหารจะมีชีวิตที่ความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 3. เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริหารเตรียมตัวเกษียณอายุ เมื่อนั้นผู้บริหารจะสามารถปรับตัวให้เผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังเกษียณอายุได้และมีความพึงพอใจในชีวิต 4. เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริหารเตรียมตัวเกษียณอายุ เมื่อนั้นผู้บริหารจะสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่เป็นภาระผู้อื่น และ 5. เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริหารมีหลักศาสนายึดเหนี่ยวทางจิตใจ เมื่อนั้นผู้บริหารจะสามารถการเตรียมตัวเกษียณอายุได้ดีบนหลักความพอเพียงใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ
Preparation for Executive Retirement : Secretariat of The Senate This research aims to study the meaning source of meaning and the preparation for executive retirement.This qualitative research used to grounded theory methodology. Data were collected through in-depth interviews. 9 key informants were executive office of the Secretariat of the Senate who was retired within five years (BC. 2559- 2563). Analysis using interpretation. and classification concepts based on theoretical sensitivity. Results showed that the meaning and source of the retirement of the Executive Office had three meanings: 1. Termination of service based the potential of the brain and its ability to serve as governor. 2. The rest work for the organization and the country as required by law and 3. To finish the rest stop and start a new life . Preparing for retirement has to be prepared five aspects: 1. financial and property 2. residential 3. physical 4. mental, and 5. the use of leisure time. The Studies were concluded the theoretical Retirement Preparation 1. Whenever executives can prepare for retirement planning and financial assets, then they will be happy after retirement , have enough money to spend and a not liability to the family and anyone. 2. Whenever executives are preparing to retire about financial and property housing and physical health, then the retirees will live stable and good quality of life. 3. Whenever the executive retirement preparation, then the executives are able to adapt to change of retirement that have satisfaction and have a good attitude about retirement.4.Whenever the executive retirement preparation, then executives will independence.5.Whenever religious leaders have a major psychological bond, then the executives will be able to better prepare for retirement on the principle of sufficient reason to live. And understand the changes, both physically and mentally.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.เอกสารประมวลสถิติด้านสังคม 1/2558 ประชากรสูงอายุ:ปัจจุบัน อนาคต (20 มกราคม 2558). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2559. https://www.msociety.go.th/ more_ news.php?cid=73.
ชาย โพธิสิตา.(2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ทยณฐ ชวนไชยสิทธิ์ และคณะ. (2555). รูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดนนทบุรี .นนทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธนาคารแห่งประเทศไทย.2558. รายงานการวิจัย “การวัดระดับทักษะทางการเงินกับการออมเพื่อการเกษียณ” สืบค้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2559. https://www.bot.or.th/ Thai/ Segmentation /Student /setthatat/DocLib_Settha_Paper_2558/FI_Doc_Prize1_2558 pdf.
ธิดารัตน์ อติชาตินันท์ และแพรวพรรณ มังคลา.(2554). การวางแผนการเงินเพื่อเตรียมการเกษียณอายุของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. งานวิจัยปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นาตยา รัตนอัมภา.(2540). การเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุราชการของพยายาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณะสุข.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรลุ ศิริพานิช.(2539). รายงานการวิจัย “ชมรมผู้สูงอายุ การศึกษารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสม” สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย.
บรรลุ ศิริพานิช.(2550). คู่มือผู้สูงอายุ : ฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์หมอชาวบ้าน
ประนอม โอทกานนท์. (2554). ชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของผู้สูงอายุไทย หลักการ งานวิจัยและบทเรียนจากประสบการณ์.พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์พิมุข โพธิ์ปักขิย์. (2550). ปัจจัยทางชีวสังคม ทัศนคติต่อการเกษียณอายุ ความเครียดจากภาระหนี้สิน
กับการเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดพิจิตร.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เพ็ญประภา เบญจวรรณ. (2558) . การเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุ.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม –มิถุนายน 2558.
วันชัย แก้วสุมาลี. (2552). ความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุการทำงานของบุคคลทำงานวัยผู้ใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). บำเหน็จบำนาญ. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2559,
http://www2.cgd.go.th/impor/พรบ ข้าราชการพลเรือน.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 .เอกสารประกอบการระดมความคิดเห็นทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (กรกฎาคม 2558). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2559, http://www.nesdb.go.th/article_attach/Book_Plan12.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ . เตรียมตัวให้พร้อมไว้...ในวัยผู้สูงอายุ (ตอนที่ 1). (มปป.).สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2559, http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/poll_elderly-1.jsp
Atchley, R. C. (1991).Social Force and Aging. 6th ed. California: Wadworth Publishing Company.
Atchley, R.C. (1994). Social forces and Aging: An Introduction to Social Gerontology. Belmont, California:Wadsworth.
Burnside, T. M. (1981). Nursing and the Aged. New York: Mc Graw Hill Book Company.
Burside, I.M. (1988). The Nursing and Ages. New York: Mc. Graw-Hill Book.
Dutcher, Helen Heydrick. 1989. “Factors that Relate to Satisfaction in retirement” Dissertation.,1767:DAI-A 50/06.
Glaser,Barney G., and Strauss,Anselm L. (1967). The Discovery Grounded Theory : Strategies for Qualitative 9 Research. Aldine,pp 271.
Jack J. Leedy and James Wynbrandt .(1987). Executive Retirement Management: A Manager's Guide to the Planning and Implementation of a Successful Retirement .
Leedy,Jack J.Wynbarand .(1987).Excutive Retirement Managenent. New York: Fact on File Publications.
United Nation.(1996).“Lifelong preparation for old age in asia and the pacific” Economic and social commission for asia and population (ESCAP).New York.
United nation.(2015) .World Population Ageing 2015.Retrieved Apil 28,2016. http://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/WPA2015_Highlights.pdf