การส่งออกยาสีฟันสมุนไพรไทยทิพย์เข้าสู่ตลาดประเทศไนจีเรีย : ปัญหา อุปสรรค และบทเรียน

Main Article Content

ถนัญรัชฏ์ แสนสุข

Abstract

               การส่งออกสินค้าไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศนับวันยิ่งทวีการแข่งขันขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าใหม่จำเป็นต้องใช้ศาสตร์ทางการบริหารให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ รวมทั้งต้องพึ่งพาการกำกับดูแลในขั้นตอนการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเข้มงวด จึงจะทำให้การส่งออกประสบความสำเร็จได้ งานวิจัยนี้ จึงมีคุณูปการต่อภาคการส่งออกของไทย เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยมีการศึกษากระบวนการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกยาสีฟันสมุนไพรไทยเข้าสู่ตลาดประเทศไนจีเรียมาก่อน ทำให้ไม่มีกรณีศึกษากระบวนการส่งออกยาสีฟันสมุนไพรไทยเข้าสู่ตลาดประเทศไนจีเรียมาเทียบเคียง โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1. ถอดบทเรียนการส่งออกยาสีฟันสมุนไพรไทยทิพย์เข้าสู่ตลาดประเทศไนจีเรีย 2. วิเคราะห์กระบวนการส่งออกยาสีฟันสมุนไพรไทยทิพย์เข้าสู่ตลาดประเทศไนจีเรีย 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค ผ่านบทเรียนการส่งออกยาสีฟันสมุนไพรไทยทิพย์เข้าสู่ตลาดประเทศไนจีเรีย 4. เสนอแนะแนวทางการทำธุรกิจเข้าสู่ตลาดประเทศไนจีเรีย และทวีปแอฟริกาด้านตะวันตก ผู้เกี่ยวข้องกับการส่งออก ได้แก่ องค์กรภาคเอกชน 6 องค์กร องค์การภาครัฐของประเทศไทย 5 องค์การ และของประเทศไนจีเรีย 3 องค์การ บุคคลผู้ให้ข้อมูลหลักและผู้เชี่ยวชาญ จำแนกเป็นชาวไทย 17 คน ชาวไนจีเรีย 8 คน รวมทั้งหมด 25 คน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประเภทกระบวนการศึกษาบทเรียน (Lesson Study Process) ใช้กรอบการวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีระบบ โดยวิธีสนาม ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เว็ปไซต์ วิเคราะห์ข้อมูลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การประชุมย่อย การสังเกตพฤติกรรม การพูดคุย สอบถามถึงทัศนคติ ค่านิยม และความเห็นร่วมกัน

ข้อค้นพบ

               ด้านระบบราชการของประเทศไทย พบว่าเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของ 3 องค์การหลัก ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ ด้านระบบราชการของประเทศไนจีเรีย พบว่าเกี่ยวข้องกับ 3 องค์การ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากร และสำนักงานควบคุมการบริหารงานด้านอาหารและยาแห่งชาติของประเทศไนจีเรีย (National Agency for Food and Drug Administration and Control : NAFDAC)

                ด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่าสอดคล้องกับด้านสังคม ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านเทคโนโลยี

 

 

 

                 The exporting of Thai products to international markets has now become much more competitive than ever, particularly the exporting of new products in which the need of the administrative science is a necessity complying with the government policy concurrently with the supporting and monitoring of strict regulatory process on the implementation policy which help such exporting programs to be successful. Thus, this research is very useful for Thailand in the export sector. This is due to a new topic which has never before been studied, that topic is the process of exportation, in particular Thai Herbal toothpaste to the market of Nigeria, consequently there were no case studies enabling any comparison of the exporting of Thai Tip herbal toothpaste to the market of Nigeria. The objectives of this research consist of, 1. to discover lessons learned from the exporting  process of Thai Tip herbal toothpaste to the market of Nigeria, 2. to analyze the process of exporting Thai Tip herbal toothpaste to the market of Nigeria, 3. to study the problems and obstacles through lessons learned during the exporting of Thai Tip herbal toothpaste to the market of Nigeria, 4. to propose an appropriate method of doing business for entering the market of Nigeria including the west Africa Continent. The personnel involved with the exportation were from 6 private organizations including 5 Thai government organizations plus 3 Nigerian government organizations. The individual key informants and specialists were classified by nationality: 17 Thais plus 8 Nigerians, 25 personnel in total. Research Methodology is a qualitative study known as lesson study process and used the analysis framework of system theory by the field research method namely in-depth interviews, participation observation, websites, analysis information from emails, sub-meetings, behavior observation, conversations, asking questions about attitudes including values and agreed opinions.

Findings

                The bureaucracy sector found that the bureaucracy of Thailand was involved with the authority and function of the 3 primary organizations, namely the Ministry of Commerce, the Ministry of Finance and the Ministry of Foreign Affairs, Whilst the bureaucracy of Nigeria was involved with 3 organizations namely the Ministry of Commerce, the Nigeria Customs Service and the National Agency for Food and Drug Administration and Control (NAFDAC).

                 The problems and the obstacles sections found that they comply with social, legal, economic, political and technological issues.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD). (2556). ระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่าง

ประเทศกำลังพัฒนา (The Global System of Trade Preference Amongst Developing

Countries : GSTP) สืบค้นจาก http://www.unctadxi.org เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2555). การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จำกัด สืบค้นจาก

http://www.dbd.go.th/download/downloads/03_boj/intro_step_bj_establish_1.pdf เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กรมศุลกากร. (2556). พระราชกำหนดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 3 พิกัดอัตราอากรขาออกประเภท

ที่ 9 สืบค้นจาก http://www.customs.go.th เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กรมสรรพกร. (2556). การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 97/ 2543 เรื่อง การส่งออก

สินค้าซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1

แห่งประมวลรัษฎากร สืบค้นจาก http://www.rd.go.th/publish/3557.0.html เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กรมสรรพกร. (2556). การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20). สืบค้นจาก

http://www.rd.go.th/publish/7058.0.html เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เกริกยศ ชลายนเดชะ. (2546). การวางแผนกลยุทธ์และการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาล

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี

ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (ม.ป.ป.). กลยุทธ์ในการเข้าสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ (Mode of Entry). สืบค้นจาก

http://www.bus.rmutt.ac.th/thai/journal/chanongkorn/c3.html เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2559). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้ง

ที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ทักษิณ ชินวัตร. (2548). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลง

ต่อรัฐสภา วันพุธที่ 23 มีนาคม 2548. สืบค้นจาก

http://www.thaigov.go.th/index.php/th/government-policies/item/73624- พันตำรวจโท-ทักษิณ-ชินวัตร-23-มีนาคม-2548 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ (Competency): หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนดุสิต.

นิสิต พันธมิตร. (2547). เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ: การค้าระหว่างประเทศ. เชียงใหม่:

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประจักษ์ ทรัพย์อุดม. (2550). แนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ: เอกสารอัด

สําเนา.

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535. สืบค้นจาก

http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/1550/เครื่องสำอาง.pdf เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

มนประพร คําพานิช. (2555). การค้าระหว่างประเทศไทยและทวีปแอฟริกา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

รัฐวัชร พัฒนจิระรุจน. (2557). ทฤษฎีระบบ Systems theory. สืบค้นจาก

http://poundtv5.blogspot.com/ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วรเดช จันทรศร. (2551). จากนโยบายสู่การปฏิบัติ: องค์ความรู้ ตัวแบบทางทฤษฎี และการประเมิน ความสําเร็จ

ความล้มเหลว. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

วรเดช จันทรศร, ปฐม มณีโรจน และเสน่ห์ จุยโต. (2558). เอกสารการสอนชุดวิชา หน่วยที่ 1-7: 33304 ขอบ

ขายการศึกษาและวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร (ปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรางคณา ผลประเสริฐ. (2554). 58708 การจัดการเชิงกลยุทธ์ ในการบริหารโรงพยาบาล. สืบค้นจาก

http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/upload/หน่วยที่ 1 ชุดวิชา%2058708.pdf เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิเชียร วิทยอุดม. (2554). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

วิจิตร อาวะกุล. (2528). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮาส์.

ศินีย์ สังขรัศมี. (2549). การค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิร้ญกิตติ, สุดา สุวรรณาภริมย์, ชวลิต ประภวานนท์ และสมศักดิ์ วานิชยาภรณ์.

(2545). องค์การและการจัดการ = O&M : Organization and management. กรุงเทพฯ: ไดมอน อิน บิสสิเน็ต เวิร์ล.

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2547). เอกสารประกอบการสัมมนารึ่องสมรรถนะของข้าราชการ.

ม.ป.ท.: สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานควบคุมการบริหารงานด้านอาหารและยาแห่งชาติ (National Agency Food and Drug

Administration Control: NAFDAC) ประเทศไนจีเรีย. (2556). ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนสินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง ประเภทยาสีฟัน สืบค้นจาก

http://www.nafdac.gov.ng, https://nlipw.com/product-registration-with-nigerias-nation,.http://www.nafdacproductregistration.blogspot.com เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2556). ประกาศคณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตใน

ราชอาณาจักร ที่ อ 2/2555 สืบค้นจาก

http:www.fpo.go.th/FPO/index2.php?mod=Category&file=categoryview&categoryID=CAT0000155 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สำนักพัฒนาการตลาดต่างประเทศ. (2550). สำเนาหนังสือสำนักพัฒนาการตลาดต่างประเทศ กรมส่งเสริมการ

ส่งออก เรื่อง โครงการงาน Thailand Exhibition 2007 ณ เมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย (28-30 พฤษภาคม 2555). กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาการตลาดต่างประเทศ.

สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมศักดิ์ สุระวดี และจุมพล หนิมพานิช. (2528). การประสานงานและควบคุมงาน. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ หน่วยที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมาน รังสิโยกฤษฏ์.. (2546). การบริหารราชการไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

สันสิทธิ์ ชวลิตธํารง. (2546). หลักการบริหารรัฐกิจกับระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์ พับ

ลิชชิ่ง.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2004). Competency: เครื่องมือการบริหารที่ปฏิเสธไม่ได้. Productivity, 9(53),

-48.

เสรี มุทธาธาร. (2556). การประเมินกระบวนการตรวจลงตราในรอบ 5 ปี : กรณีศึกษาสถาน เอกอัครราชทูต

ณ กรุงอาบูจา (รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual Study). กรุงเทพฯ: กระทรวงการ

ต่างประเทศ.

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2547). แนวคิดเรื่องสมรรถนะ Competency: เรื่องเก่าที่เรายังหลงทาง.

Chulalongkorn Review, 16 (ก.ค. - ก.ย.), 57-72.

อาภร ภู่วิทยพันธุ์. (2548 ). Competency dictionary. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2539). วิธีการหรือเทคนิคเชิงระบบและแนวทางในการบริหารโรงเรียน. ใน รายงานการ

สัมนาหลักและแนวทางในการบริหารโรงเรียนอย่างเป็นระบบ 20 สิงหาคม 2539. ณ สวางคนิวาส, จังหวัดสมุทรปราการ.

Abbass, F. A. (2003). Strategic management formulation, implementation, and control in a

dynamic environment. New York: Haworth Press.

Bartol, K., & Matin, D. (1998). Management. Boston: McGraw-Hill.

Cameron, S. K., & Quinn, E. R. (1999). Diagnosing and changing organizational culture: Based

on the competing value framework. New York: Addison-Wesley.

Certo, S. C. (2003). Modern management. New Jersey: Prentice Hall.

Greenberg, J., & Baron, R. A. (1997). Behavior in organizations (6th Ed.). Upper Saddle River, NJ:

Prentice Hall.

Kast, F. E., & Rosenzweig, J. E. (1985). Organization and management: A systems and

contingency approach (4th Ed.). New York: McGraw-Hill.

Kimberly, J. R. (1979). Issues in the creation of organizations: Initiation, innovation, and

institutionalization. ACAD MANAGE J, 22(3), 437-457.

Kotler, P. (1984). Marketing professional services. Englewood Cliffs: Prentice Hall. Kotler, P.

(2003). Marketing management (11th Ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Lewicki, R. J., Saunders, D. M., & Barry, B. (2006). Negotiation. Boston, Mass: McGraw- Hill Irwin.

McClelland , D. C. (1973). Test for competence, rather than intelligence. American

Psychologists, 17(7), 57-83.

Nigeria Customs Service. (2556). ภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอาง ประเภทยาสีฟัน

(Dentifrice/Toothpaste) สืบค้นจาก https://www.customs.gov.ng/hscode/resulthscode.php?TYPE=KEY&HSCODE=33061000 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Okoroja, S. (2011). NAFDAC Registration Guides: NAFDAC registration made easy .Retrieved

from http://nafdacproductregistration.blogspot.com/

Perce, A. J., & Robinson, R. B. Jr. (2009). Formulation, implementation, and control of

competitive strategy (11th Ed.). New York: McGraw-Hill.

Peters, T. J., & Waterman, Jr., R. H. (2530). In Search of lExcellence (วีรชัย ตันติวีระวิทยา, ผู้แปลและ

เรียบเรียง). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Pitts, R. A., & Lei, D. (2000). Strategic management: Building and sustaining competitive

advantage (2nd Ed.). Cincinnati, Ohio : South-Western College.

Robbins, S. P., & Decenzo, D. A. (2004). Fundamentals of management (4th Ed.). New Jersey:

Pearson Education.

Robins, S. P., & Coulter, M. (2002). Management. New Jersey: Prentice Hall.

Samuelson, P. A. (1983). Foundations of economic analysis (Enlarged, Ed.). Cambridge, Mass.:

Harvard University Press.

Schein, E. H. (1992). Organizational cultural and leadership (2nd Ed.). San Francisco: Jossey-

Bass.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art & practice of the learning organization. New

York: Doubleday.

Scherhorn, J. R. (2002). Management (7th Ed.). New York: John Wiley & Sons.

Schoderbek. P. P, Schoderbek, C. G., & Kefalas, A. G. (1990). Management systems: Conceptual

considerations (4th Ed.). Boston, MA: BPI-Irwin.

Watkins, M. (2551). การเจรจาต่อรอง = Negotiation (ไพโรจน์ บาลัน, แปล., พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:

เอ็กซเปอร์เน็ท.

Weber, M. (1966). The theory of social and economic organization (A.M. Handerson and

Talcoott Parson, Trans.). New York: The Free Press.

Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2006). Strategic management and business policy. New Jersey:

Prentice Hall.

Gulick, L. (1937). Notes on theory of organization. In L. Gulick and L. Urwick (Eds.), Papers on

the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.