การศึกษาการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ในรายวิชา TMT423 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

Main Article Content

ณัฎฐพงษ์ ฉายแสงประทีป

Abstract

                 วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาด้วยวิธีการสอนแบบลงมือปฏิบัติ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจากวิธีการสอนแบบลงมือปฏิบัติ ในรายวิชา TMT423 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Research Methodology for Tourism Industry)

                 ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรีที่เรียนวิชาTMT423 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ข้อสอบวัดผล แบบประเมินผลรูปเล่มวิจัยและการนำเสนอ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนโดยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (One-sample t-test)

                 ผลการวิจัย พบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่วัดจากข้อสอบวัดผล ผู้เรียนครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 55 ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด ในสัดส่วนนี้ มีผู้เรียน ร้อยละ 14.81 ที่มีผลการทดสอบร้อยละ 80 ขึ้นไป ด้านผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่วัดจากผลงานวิจัย พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 37.04 ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีเยี่ยม รองลงมา คือ ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีมาก และระดับดี คิดเป็นร้อยละ 18.52 และร้อยละ 14.81 ตามลำดับ สำหรับการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้กับเกณฑ์มาตรฐาน พบว่า คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยของผู้เรียนแตกต่างกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดที่ 70 คะแนนหรือ เกรด C และด้านความพึงพอใจจากการเรียนแบบลงมือปฏิบัติ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในภาพรวม และรายด้านในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจ พบว่า ด้านการสอนของอาจารย์ เป็นด้านที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจสูงเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้ของนักศึกษา ด้านการเรียนการสอน ด้านความรู้ของนักศึกษา และด้านการประเมินผล 



                  The purpose of the classroom research in TMT423: Research Methodology for the tourism industry is, first, to determine the effect of learning by doing in relation with the learning outcomes of students in this course. Secondly, it aims to assess the satisfaction of students with this course. The target group includes undergraduate students at the subject TMT423 during the second semester of the 2557 academic year. The class had 52 students and the information used in the research came from a final test of the learning objectives included in the lesson plans, a thesis to be prepared in pairs, oral presentations and satisfaction of learners on learning by doing. Statistics and data analysis were noted as percentages and One-sample t-test with significant level of 0.05.

                  The findings are summarized below. Learning by doing from a management model was implemented in the abovementioned subject and compared with a benchmark study to be analyzed in two parts: learning outcomes and students’ satisfaction. The details are as follows. Regarding the learning outcomes, the results of the test were positive for 55 percent of all sample members. 14.81 percent of the students got a score of 80 percent or higher, which is equivalent to a grade “A”. For the thesis prepared in pairs and its oral defense, the results show that 37.04 percent of the assignments passed the assessment, 18.52 percent got “outstanding” results and 14.81 percent were considered as “good”.  Analysis of student’s satisfaction on the learning by doing experience:  The average overall satisfaction level sums up to 3.79 out of 5, which is a high satisfactory level. It shows that students are very satisfied with the level of this teaching practice. When you considered the satisfaction of student in different points that teaching of the teacher has the highest score; he emphasize on the student centre, with a score of 3.83 points out of 5. The highest score was given to the responsibility to act with an average value of 4.04 out of 5. In terms of teaching hour, they gave an average of 3.71 points out of 5. During the course they were also required to do some research and field study, which they valued quite positively (3.67 points out of 5). Finally, regarding their accomplishment of the learning objectives and activities, they also considered it was satisfactory, with a score of 3.83 points out of 5.


Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ณัฎฐพงษ์ ฉายแสงประทีป

อาจารย์สาขาวิชาการการจัดการการท่องเที่ยว  คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม   

  จังหวัดกรุงเทพฯ

References

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม และคณะ. (2555). ผลการเรียนการสอนแบบออนไลน์แบบสืบสอบที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษารับัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silapakorn University. กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 หน้า 683-692.

จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2558). ผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนรายวิชาการบริหาสารสนเทศ 2 โดยเน้นรูปแบบฝึกปฏิบัติจริง. The 1st National Conference on Technology and Innovation Management NCTIM 2015 |RajabhatMahaSarakhamUniversity | MahaSarakham| Thailand | 12–13May 2015.

ชัยวัฒน์ บวรวัฒน เศรษฐ์พิทักษ์ นิลนพคุณ และอุษา คงทอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ปีที่ : 9 ฉบับที่ : 1 หน้า 26-41 ปี 2558.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธเนศ ปานอุทัย. (2556). แนวทางพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นการสอนแบบโครงการ เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ของผู้เรียน. วารสารวิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญา เพื่อพัฒนาทักษะการติดต่ออย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม หน้า 152-164.

ปิยดา ยศสุนทร. (2553). การใช้การสอนแบบสาธิตร่วมกับการลงมือปฏิบัติที3มีผลสัมฤทธิทางการเรียนกระบวนการวิชาเคมีประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (ออนไลน์). แหลงที่มา:http://www.tnrr.in.th/rir/index.php?page=resarching&nid=366334. 28 สิงหาคม 2558.

พวงเพ็ญ อินทรประวัติ. (2532). รูปแบบการสอน. สงขลา : โครงการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

ริปอง กัลป์ติวาณิชย์. (2556). ผลการเรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสาธิต เพื่อฝึกหัดทักษะปฏิบัติวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silapakorn University. กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 หน้า 642-654.

สมยศ ต่ายแก้ว. (2542). การสอนแบบฝึกปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Anderson, L. W. & Krathwohl, D. (Eds.). (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of education objectives. New York, Longman.