ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Main Article Content

ชวาพร เป็นกล

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับ ปัจจัยด้านลักษณะงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรทั้งสิ้น 108 คน โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิดที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น วิเคราะห์โดยใช้สถิติ t-test เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรสองกลุ่ม และใช้สถิติ One Way ANOVA สำหรับวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแล้วแต่กรณี เมื่อพบความแตกต่างจะตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe Procedure) กำหนดการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05        

           ผลการศึกษาความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  พบว่า ข้าราชการตำรวจมีความเชื่อมั่นในเป้าหมายขององค์การมากที่สุด ( = 3.70) รองลงมา คือ
มีความเต็มใจในการปฏิบัติงานให้องค์การ ( = 3.61) และมีความต้องการที่จะเป็นสมาชิกขององค์การต่อไป
( = 3.41) ตามลำดับ

            ผลการศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ จำแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล  พบว่า ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.3 มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี และ อายุ 41 – 50 ในจำนวนที่เท่ากัน ร้อยละ 36.1 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 55.6 และมีสถานภาพโสด ร้อยละ 61.1 ซึ่งการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้าราชการตำรวจที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่แตกต่างกัน

            ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ กับปัจจัยด้านลักษณะงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ข้าราชการตำรวจมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยลักษณะงาน ด้านความสำเร็จในงาน มากมี่สุด ( = 3.82) รองลงมา คือ ด้านความรับผิดชอบ ( = 3.74) ด้านความถนัดในงาน  ( = 3.58) และด้านความมั่นคงและความก้าวหน้า ( = 3.46) ตามลำดับ ซึ่งการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยด้านด้านลักษณะงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับสูงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนข้าราชการตำรวจมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน  ด้านเพื่อนร่วมงาน  มากที่สุด ( = 3.83) รองลงมา คือ ด้านผู้บังคับบัญชา (  = 3.66)  ด้านบรรยากาศในที่ทำงาน ( = 3.37) ด้านสวัสดิการ  และเงินค่าตอบแทนพิเศษ ( = 3.16) ตามลำดับ และการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับสูงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

            จากผลการศึกษาดังกล่าว พบข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระดับความผูกพันในองค์การของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองการต่างประเทศ ดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์กรในด้านต่างๆให้ชัดเจน ได้แก่  การจัดทำแผนการปฏิบัติงานประจำปี การจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ แผนการพัฒนาบุคลากรในด้านการศึกษาและการอบรม แผนการทดแทนกำลัง และพัฒนาระบบการประเมินความรู้ ความสามารถ เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ อย่างเท่าเทียม โปร่งใส และยุติธรรม   2) ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ การมอบหมายงานให้ตรงกับความรู้ความสามารถของข้าราชการ สร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ระบบการทดแทนการทำงานของบุคลากร ปรับปรุงสถานที่ทำงาน สภาพแวดล้อม และบรรยากาศให้มีมาตรฐาน และจัดกิจกรรมการปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อองค์การเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างจิตสำนึกรักในองค์กร ให้ข้าราชการตำรวจรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ 

 

 

          The research on The Organizational Commitment of Police Officers of Foreign Affairs Division, Royal Thai Police aimed to 1) study the organizational commitment level of police officers of Foreign Affairs Division, Royal Thai Police, 2) compare the organizational commitment of police officers of Foreign Affairs Division, Royal Thai Police classified by personal factors, and 3) study the relationship between the organizational commitment of police officers of Foreign Affairs Division, Royal Thai Police and the factor of job characteristics and the environmental factor.  As for this quantitative research, data on the close-ended and open-ended questionnaires were collected from 108 people and analyzed by t-test to test difference of two groups of variables.  One Way ANOVA was used for analysis of one way variance.  When difference was found, Scheffe procedure was used for examination of paired difference.  Test of statistical significance was determined at the level of .05.

            The research results of the organizational commitment of police officers of Foreign Affairs Division, Royal Thai Police showed that police officers most considerably had confidence in organizational goals ( = 3.70) , followed by willingness to work in the organization ( = 3.61), and need to continue being organizational members ( = 3.41), respectively.

            The research results of comparison of the organizational commitment of police officers classified by personal factors showed the followings:  58.3% of police officers were male.  36.1% of police officers were 20-30 years old.  36.1% of police officers were 41-50 years old.  55.6% of police officers graduated higher than bachelor degree.  61.1% of police officers were single.  After hypothesis test, the researcher found that police officers with difference in gender, age, status, and education did not have different organizational commitment.

            The research results of the relationship between the organizational commitment and the factor of job characteristics and the environmental factor showed that police officers most considerably expressed the opinions on the factor of job characteristics on job success ( = 3.82), followed by responsibility ( = 3.74), job aptitude ( = 3.58), and security and progress ( = 3.46), respectively.  After hypothesis test, the researcher found that the factor of job characteristics considerably and significantly correlated with the organizational commitment in general and each aspect in the same direction at the level of .01.  Police officers most considerably expressed the opinions on the factor of working environment on colleagues ( = 3.83), followed by chiefs           ( = 3.66), organizational climate ( = 3.37), welfare and special remunerations ( = 3.16), respectively. After hypothesis test, the researcher found that the environmental factor considerably and significantly correlated with the organizational commitment of police officers of Foreign Affairs Division, Royal Thai Police in general and each aspect in the same direction at the level of .01.

            Recommendations about the developmental guidelines on the organizational commitment level of police officers of Foreign Affairs Division are as follows: 1)  As for policy recommendations, there should be clear determination of organizational policy and goals such as making the annual operational plan, making career path, staffs’ education and training development planning, staffs replacement planning, and developing knowledge and capability

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ชวาพร เป็นกล

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

References

กองการต่างประเทศ.(2558). เอกสารข้อมูลกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร.

ซัลวานา ฮะซานี. (2550). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ กรณีศึกษา พนักงานในโรงแยกก๊าซ ธรรมชาติจังหวัดระยอง บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน). ภาคนิพนธ์ : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปัทมา สมสนั่น. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารกองทัพบก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2541). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เอกสารและตำราสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

รัตกัมพล พันธุ์เพ็ง. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานความเหนื่อยล้าทางจิตใจ

และสุขภาพของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเลนซ์.วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา.(2551). แนวความคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : ธนุชพริ้นติ้ง.

วิชัย แหวนเพชร. (2543). การวางแผนและควบคุมการผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏพระนคร.

สุรพล สาระพันธ์. (2554). ความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีศึกษา สถานีตำรวจนครบาล คลองตัน.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

อัจฉรา ลิ้มวงษ์ทอง. (2551). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

อภิศันย์ ศิริพันธ์ . (2553). องค์การ กับ องค์กร ความเหมือนหรือความแตกต่าง, 14 กรกฎาคม 2558. https://www.gotoknow.org/posts/360917

Gubman, L.E. 1998. The Talent Solution: Aligning Strategy and People to AchieveExtraordinary

Results. The United States of America: McGraw-Hill Companies, Inc.

Herzberg, F., Mousner, B., & Synderman, B. B. (1988). Motivation to Work. Michigan: A Bell &Howell Information Company.

Maslow, Abraham H. 1970. Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers

Mowday, R., Steers, R. M., & Porter, L. (1982). Employee Organization Linkage: The Psychology of Commitment, Absenteeism and Turnover. New York: Academity Press.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment.

Administrative Science Quarterly 22 : 46-56.