การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ณพัฐอร บัวฉุน
สุพัตรา ถนอมวงษ์

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ           กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนวัดนาวง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและ        การเคลื่อนที่ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้     ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการเรียนด้วย t-test

             ผลการวิจัยพบว่า

            1.  แบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ  83.53/81.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้  คือ  80/80 

            2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   

 

 

             This research is an experimental research which has purposes for measuring   the efficiency of a Force and Movement exercise base on 80/80 standard and for compare Grade 7students pre-test and post-test grade result in Force and Movement course. The sample of this research are 40 Watnawong School Grade 7 students in academic year of 2015, first semester. The instruments are Force and Movement 50 Multiple-Choice question (4 answers) which has liability level at 0.81. The data using in analysis are mean, standard deviation and t-test.

Result

1. The efficiency rate of Force and Movement exercise has a value around 83.53/81.53  which is standardized.

2. Post-test grade result of Grade 7 students in Force and Movement course is higher than pre-test grade result while levels of significance is 0.05 .

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ณพัฐอร บัวฉุน

หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์   ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

สุพัตรา ถนอมวงษ์

โรงเรียนวัดนาวง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

References

จิราภรณ์ สกุลเหลืองอร่าม. (2550). รายงานการทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะ วิชาภาษาไทย ท 31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การเขียนสะกดคำ. สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 1.

วรสุดา บุญยไวโรจน์. (2536). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ ในระดับประถมศึกษา เรื่องน่ารู้สำหรับ ครูคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

วาสนา ยิสุ. (2535). สมรรถภาพพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์สูง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมนึก การเกษ. (2544). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะที่มีประสิทธิภาพวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. งานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะกรรมการวิจัยการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรมของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2544.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). มัธยมศึกษายุคใหม่สู่มาตรฐานสากล 2561. กรุงเทพฯ

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนว ทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับ มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2544). การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนการสร้างแบบฝึก เล่ม 2. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.