ยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย

Main Article Content

วรีรัตน์ สัมพัทธ์พงศ์

Abstract

              การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัย เรื่อง ยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยและนำเสนอกระบวนทัศน์ในการสร้างยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย การศึกษาครั้งนี้   เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหมไทยหลากหลายสาขาวิชาชีพ จำนวน 18 คน

               ผลจากการศึกษาพบว่า โดยส่วนใหญ่กลุ่มเป้าหมายจะมองว่าผ้าไหม OTOP เป็นสินค้าที่มีราคาแพง สวมใส่ได้เฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ รูปแบบและลวดลายที่ไม่ร่วมสมัย และเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่จะสวมใส่เท่านั้น  โดยเครื่องมือในการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าไหม OTOP คือ การออกบูธเพื่อจัดแสดงสินค้า  การรณรงค์ของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐแต่งกายด้วยผ้าไทย และการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่ม ทั้งนี้แนวทางในการยกระดับตราสินค้าผ้าไหม OTOP     ให้เกิดการยอมรับ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ การสร้างแบรนด์ให้เกิดการยอมรับ การได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) การวางรูปแบบและลวดลายให้มีความทันสมัย  การสร้างความแตกต่างแก่ผลิตภัณฑ์โดยอาศัยจุดเด่นในด้านการมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อยกระดับตราสินค้าผ้าไหม OTOP

               จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างกระบวนทัศน์ในการสร้างยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย  โดยให้ชื่อว่า The CHAMPION Paradigm เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้เป็นกรอบความคิด       ในการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในอนาคตได้

 

             This study is a research strategy for integrated marketing communications. Build brand equity One Tambon One Product (OTOP) of silk products Thailand . The objective was to study the strategy of integrated marketing communications to build brand equity One Tambon One Product (OTOP) of silk products Thailand and offer a paradigm to create a strategic marketing communications integrated to create a brand value of One Tambon     One Product (OTOP) of silk products Thailand . This study is a qualitative research employing, in-depth interviews with eighteen experts in traditional Thai silk from various professional fields.

               The study found that Most prospects are viewed as silk OTOP products are expensive . Wear them only during major festivals. Patterns and designs that are contemporary . And for seniors to wear only . The tools of integrated marketing communications suitable for silk products OTOP is a booth to exhibit. The government's campaign to encourage the government clothed with Thailand. And the use of online media to reach target groups. The approach of elevating the brand silk OTOP acceptance. Things to take into consideration: Branding acceptance. The certified community standard (the assistant.). The patterns and designs to date. To make a difference by building upon the strengths of the product is unique to elevate the brand silk OTOP. The data obtained from the study. The researchers created     a paradigm in creating strategic integrated marketing communications to build brand equity One Tambon One Product (OTOP) of silk products Thailand. The CHAMPION Paradigm so named by the operator can be applied as a paradigm in integrated marketing communications group of silk products Thailand in the future.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

วรีรัตน์ สัมพัทธ์พงศ์

นิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

References

กิตติพงษ์ สิปิยารักษ์. (2548). การบริหารตราสินค้าของเบียร์สิงห์. โครงการเฉพาะบุคคล ว.ม.,

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เชิดพงษ์ วาณิชยานนท์. (2548). การจัดการสื่อสารตราสินค้าของบริษัทที่ปรึกษาด้านตราสินค้า. วิทยานิพนธ์

ว.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 1. นครราชสีมา: โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2555). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม2. นครราชสีมา: อินดี้อาร์ต.

ทัศไนย สุวรรณะชฏ. (2548). แนวโน้มการบริหารการสื่อสารแบรนด์สินค้าไทยในยุคส่งเสริมการส่งออกปี พ.ศ.

- 2543. โครงการเฉพาะบุคคล ว.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ. (2544). กลยุทธ์การสื่อสารแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ: ทิปปิ้งพอยท์.

นันทนา บริพันธานนท์. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้ากับปัจจัยที่เกิดจากการสื่อสารการตลาด.

วิทยานิพนธ์ นศ.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ประดิษฐ์ จุมพลเสถียร. (2547). การสร้างแบรนด์และการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: กลุ่มแอดวานซ์รีเสิร์ช.

พัชราภา เขียวขำ. (2546). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์โครงการตราสินค้าไทยของกรมส่งเสริมการส่งออก.

วิทยานิพนธ์ นศ.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วรันธร ตั้งสาธิตกุล. (2549). การสร้างตราสินค้าของอินเอ็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์. โครงการเฉพาะบุคคล ว.ม.,

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.