การพัฒนาศักยภาพการวิจัย R2R ของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
Abstract
การศึกษาเรื่องการพัฒนาศักยภาพการวิจัย R2R ของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย R2R ของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากรในการศึกษาได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกอย่างเจาะจง กลุ่มที่ 1 คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 38 คน กลุ่มที่ 2 คือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขจำนวน 3 คน เครื่องมือในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบตรวจสอบรายการและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ระยะเวลาที่ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม 2559-มิถุนายน 2559
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี อายุมากที่สุด 55 ปี อายุน้อยที่สุด 22 ปี ปฏิบัติงานในหน่วยงานสาธารณสุขมากกว่า 10 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่มีประสบการณ์การทำวิจัยและปัจจุบันไม่ได้ทำวิจัย ก่อนอบรมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ต่ำที่สุดเท่ากับ 3 คะแนน สูงที่สุด 11 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ย 6.97 คะแนนและหลังอบรมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ต่ำที่สุดเท่ากับ 5 คะแนน สูงที่สุดเท่ากับ 15 คะแนน คะแนนเฉลี่ย 8.23 ด้านทักษะเกี่ยวกับการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เคยอ่านบทความภาษาไทย เคยนำข้อมูลจากการให้บริการมาวิเคราะห์ แต่ไม่เคยเข้ารับการอบรมด้านการวิจัย ไม่เคยอ่านบทความภาษาอังกฤษ ไม่เคยเขียนบทความส่งเผยแพร่ ไม่เคยใช้โปรแกรม SPSS ไม่เคยเข้าร่วมประชุมนำเสนอผลงานทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศและทั้งหมดไม่เคยเข้าร่วมประชุมนำเสนอผลงานต่างประเทศ หลังการอบรมกลุ่มตัวอย่างมีศักยภาพในการวิจัย โดยสามารถเสนอโครงการวิจัยซึ่งมาจากปัญหาในการปฏิบัติงาน กำหนดวัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย สถิติที่ใช้ในการทำวิจัยแบบ R2R ของหน่วยงานตนได้ตามเป้าหมาย
The purpose of this applied study was to develop the potential for R2R of the health personals of Phra Nakhon Si Ayutthaya province. The target populations were the health personals working at the Ayutthaya health provincial office. Two groups of populations were purposely selected, including (1) the general health personals (n=38) and also (2) the provincialship medical health officer and the human resource officers responsible for developing the general health personals (n=3). The means for conducting this research included the questionnaires and forms for assessment, cross-examining and interviewing. The data was statistical analyzed by calculation of percentage and mean. Duration of the study was between March 2016 and June 2016.
The purpose of this applied study was to develop the potential for R2R of the health personals of Phra Nakhon Si Ayutthaya province. The target populations were the health personals working at the Ayutthaya health provincial office. Two groups of populations were purposely selected, including (1) the general health personals (n=38) and also (2) the provincialship medical health officer and the human resource officers responsible for developing the general health personals (n=3). The means for conducting this research included the questionnaires and forms for assessment, cross-examining and interviewing. The data was statistical analyzed by calculation of percentage and mean. Duration of the study was between March 2016 and June 2016.
The findings indicated that most of the personals in the target population (group 1) are female, age between 21-30 years, with the maximum age of 55 and minimum of 22. Most of them have been working in the public health services for more than 10 years and have undergraduate degree, but have no research experience and currently do not performing any research. Before the study, the target population had the lowest score of knowledge at 3, and highest at 11, with the average of 6.97, but after the study, their lowest score was 5 and highest was 15, with the average of 8.23. The assessment of research skills showed that most of them used to read Thai research articles and analyze the health service data, but never been trained in conducting the researches, and also had no experience in reading and writing the English research articles, using SPSS program, and attending the provincial and national as well as international conferences. However, after they received the training in this study, they could perform their R2R project research effectively according to the purposes of this study.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2558). นโยบายกระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
www.moph.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล 7 มิถุนายน 2559).
เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ. (2557). R2R เครื่องมือพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
www.thaihealth.or.th. (วันที่ค้นข้อมูล 14 มิถุนายน 2559).
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
www.uts.edu.au. (วันที่ค้นข้อมูล 7 มิถุนายน 2559).
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2558). หลักพื้นฐานทางจิตวิทยาของอัมราฮัม มาสโลว์. [ออนไลน์].เข้าถึงได้
จาก: http://www.stou.ac.th/forum/page/Answer.aspx?idindex=144552). (วันที่ค้นข้อมูล 1
ธันวาคม 2558).
วิจารณ์ พานิช ใน จรวยพร ศรีศศลักษณ์ และ อภิญญา ตันทวีวงศ์ (บรรณาธิการ). (2551). R2R: Routine to Research สยบงานจำเจด้วยการทำวิจัย สู่โลกใหม่ของงานประจำ. นนทบุรี: สวรส.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร ทัศนีย์ ญาณะ บำรุง ชะลอเดชและพฤกษา บุกบุญ. (2558). สถานการณ์พัฒนาระบบ
บริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2547-2558. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งพับลิสซิ่งจำกัด.
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2559). กำลังคนด้านสุขภาพ.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/ThaiHealth2009/thai2009_3.pdf. (วันที่
ค้นข้อมูล 9 เมษายน 2559).