การประเมินประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ปิยะ กล้าประเสริฐ

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณะในกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงด้านความสามารถในการให้บริการ  ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง อย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก ได้แก่ อปท.จำนวน 5 แห่ง ดังนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาลนครรังสิต เทศบาลเมืองบึงยี่โถ เทศบาลตำบลสามโคก และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)คลองห้า  ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด จำนวน 400 ชุด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย  ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ตลอดจน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางเศรษฐศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ในการวิจัยครั้งนี้ ผลการวิจัย  พบว่า 1. ประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี ส่วนใหญ่ (ใช้ผลของ VRS) มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 90 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 90 ใน 5 ด้านตามลำดับ คือ (1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค (2) ด้านการส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ด้านการวางแผนส่งเสริมการลงทุน พาณิชกรรม และการท่องเที่ยว (4) ด้านการสาธารณสุข และ (5) ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพในการให้บริการต่ำกว่าร้อยละ 90 เพียง 2 ด้าน คือ (1) ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และ (2) ด้านการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี  พบว่า ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการให้บริการของ อปท. จังหวัดปทุมธานี (ใช้ผลของ VRS) ต่ำกว่า ร้อยละ 90 มี 2 ด้าน คือ (1) ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และ (2) ด้านการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน  3. ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี  ผลจากการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 5 ด้าน  ค่าเฉลี่ยขนาดพื้นที่ รับผิดชอบ คือ 322.23 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือนที่ อบจ. รับผิดชอบมีจำนวนมากกว่า อบต. จำนวนเจ้าหน้าที่ประจำและชั่วคราว อบจ. มีการจ้างเจ้าหน้าที่มากกว่า และรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร อบจ. ก็มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเช่นกัน ในส่วนของการจัดสรรงบประมาณของ อบจ. และ อบต. มีความคล้ายคลึงกันคือ ให้น้ำหนักในการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน อันดับแรก รองลงมาคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ด้านการส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการวางแผนส่งเสริมการลงทุน พาณิชกรรม และการท่องเที่ยว และด้านการสาธารณสุข มีความแตกต่างในส่วนของการจัดสรรงบประมาณด้านการส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ อบจ. จะให้ความสำคัญมากกว่าด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ซึ่งตรงกันข้ามกับ อบต. ที่เน้นการจัดงบประมาณด้านการส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมากกว่าด้านการวางแผนส่งเสริมการลงทุน พาณิชกรรม และการท่องเที่ยว และ 4. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณะในกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงด้านความสามารถในการให้บริการ ผลการศึกษาพบว่า 1) การเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณะในกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีนั้นควรส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้แก่ประชาชน โดยเชิญผู้ที่มีความรู้ มาให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการค้า การลงทุน การตลาด กับประชาชน  2) ทาง อปท.ควรจัดให้มีตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร ของเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ เนื่องจากปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตรราคาต่ำมาก ทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 3) ผู้นำควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น เพราะประชาชนในแต่ละหมู่บ้านต่างมีแนวคิดและทราบปัญหาในแต่ละหมู่บ้านได้ดีกว่าบุคคลภายนอก ดังนั้น อบจ. ควรให้โอกาสประชาชนเข้ามามีสวนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดในการพัฒนาท้องถิ่นได้   4) อปท. ควรทำการขุดลอกคูคลองเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง เนื่องจากตอนนี้น้ำในคลองไม่เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค   5) อปท.ควรจัดเจ้าหน้าที่อาสาสมัครที่คอยดูแลด้านความปลอดภัยให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน มีการโจรกรรมเกิดขึ้นในพื้นที่อย่างบ่อยครั้ง และ 6) ควรจัดโครงการและกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องและทำเป็นประจำ ตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมอย่างทั่วถึง 

 

             This research was designed to 1) study the efficiency on public service of Local Administration at Pathumthani Province 2) seek influential factors on public service of Local Administration on public service of Local Administration at Pathumthani Province 3) find the people satisfaction on public service of Local Administration at Pathumthani Province and 4) explore potential guidelines to increase the effectiveness in providing public service and of Local Administrative Organization at Pathumthani leading to the development and better servicing. The researcher selected the research participants from the local administration of Pathumthani as the case study, having the total of 5 local administrations, namely, Provincial Administration, Rangsit City Municiality, Bung Yeeto Town Municipality, Samkok Sub district Municipality and Klong 5 Subdistrict Administrative Organization. In this research, the researcher had analyzed data from 400 distributed questionnaires and complied the results with the application of SPSS. This research also deployed the statistical application of Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation or S.D., including the use of Multiple Regression Analysis and Data Envelopment Analysis Program (DEAP) as the research instrument. It was found that the average responsible areas 322.23 square meters, and number of population and household under the Provincial Administrative Organization responsibility are more than those of Local Administrative Organization.In addition, Provincial Administrative Organization employed more permanent and temporary staffs, including higher per capita income. There were similarities in the budget allocation for both sides, Provincial and Local Administrative Organizations in which the priority was based on studying and developing better youths , followed by improvement in the basic infrastructures and public utilities, including the intense promotion on culture, arts, religious rites, customs and traditions, indigenous knowledge, and the management and environmental conservation.  The action plans were prepared for investment promotion, commercial and tourism, but the differences in budget allocation between both organizations founded in the area related to arts, religious rites, customs and traditions and indigenous knowledge. Apparently, the Provincial Administrative Organizations focused more on improving basic infrastructures and public utilities than other areas, whereas the Local Administrative Organizations allocated more budget to promote culture, Arts, religious rites, customs and traditions, indigenous knowledge, than planning investment promotion, commercial and tourism. And 4. Guidelines for the enhancement of Public Service of Local Administration Pathumthani to lead, develop and improve its ability to provide services. The study found that 1)  The enhancement of Public Service of Local Administration Pathumthani province should promote the  occupation and income residents by inviting people with knowledge to know about the system of trade, investment, marketing, public 2) Public Service of Local Administration Pathumthani should provide a market for agricultural products  farmers in the area due to the current low prices of agricultural products. Farmers have insufficient income to spend on a daily basis, 3) The leadership should allow people to participate in local development even more for the people in each village different concepts and issues in each village well outside the Public Service of Local Administration Pathumthani. It should give the public the opportunity to participate in local development to achieve the ultimate objective of developing local  4) Public Service of Local Administration Pathumthani  should dredging canals to tackle drought now  that the water in the canal is dry, water until barely 5) Public Service of Local Administration PathumThani  the authorities should take care volunteers provide more security since today a theft occurred in the area frequently and  6) Public Service of Local Administration PathumThani should organize projects and events on going and routine as well as the promotion of public participation throughout. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ปิยะ กล้าประเสริฐ

หลักสูตรรัฐประศาสนศาตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2551). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.htm

จุมพล ระบอบ. (2551). การประเมินความพึงพอใจความพึงพอใจในการให้บริการของ

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าซุง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี.

ดนัย บุญตอบ. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พนินท์ เครือไทย. (2554). การประเมินประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดพิษณุโลก. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2548). นวัตกรรมสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุภัทรา บุญอากาศ. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการ ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังสมบูรณ์ กิ่งอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว. ปัญหาพิเศษโครงการพิเศษการปกครองท้องถิ่น, บัณฑิตวิทยาลัยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น.

Farrell, M. J. (1957). The measurement of productive efficiency. Journal of the Royal Statistical Society. 120(3). pp. 253-290.

Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.