ความคิดเห็นของนักบัญชีต่อแนวทางการปฏิบัติการบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อม ในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษา : นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
Abstract
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติการบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษา : นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี และผู้จัดทำบัญชีของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 190 โรงงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้ Multiple Comparison Test แบบวิธี Least Significant Difference ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีแผนงาน นโยบาย หรือการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สาเหตุส่วนใหญ่เป็นเพราะการบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อมไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายและยังไม่มีมาตรฐานการบัญชี แม่บทการบัญชี หรือกฎหมายบังคับใช้ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักบัญชีที่มีประสบการณ์การทำงานด้านบัญชีต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อการจัดทำบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง และนักบัญชีที่ทำงานในโรงงานต่างประเภทอุตสาหกรรมกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการจัดทำบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบการบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินงานและภาพลักษณ์ของโรงงานที่แตกต่างกัน
The objective of the independent study was to investigate the ideas and the operating procedures on environmental accounting aspect of the industrial factories in Bangpu Industrial Estate, Samut Prakan province.
The samples used in the study consisted of accounting managers, chief accountants and accountants of 190 industrial factories in Bangpu Industrial Estate, Samut Prakan. The data were analyzed using Percentage, Mean, Standard Deviation, One-way ANOVA, and Multiple Comparison Test (Least Significant Difference) at 0.05 level of significance.
The results of the study revealed that the majority of the samples did not prepare any plans, policies, or managerial work for the environment work. This was because not only the environmental accounting was not widely known, but also there were not any accounting standard, accounting framework, or law enforcement implemented. The results of the hypothesis testing also showed that the accountants with different accounting experience had different levels of opinions towards the environmental accounting work and that the accountants working in the different types of industrial factories had different levels of opinions towards the environmental accounting work, the disclosure of the environmental data, and the impacts of the environmental accounting on the factory performance and image.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรกริช วัฒนาเลขาวงศ์. (2553). ความคิดเห็นของนักบัญชีที่มีต่อการเปิดเผยข้อมูลการบัญชีสิ่งแวดล้อม
ของกลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรมควบคุมมลพิษ. (ตุลาคม 2557). ขยะอันดับ 1 ปัญหาสิ่งแวดล้อมของไทย. สืบค้นจาก
http://www.bangkokbiznews.com/web/
คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ความ
รับผิดชอบต่อสังคม (CSR) : หนังสือเข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ : ไอคอนพรินติ้ง.
จิรภัทร คงสังข์. (2551). การประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการบัญชีสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติกับบริษัท
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยสยาม.
จงจิตต์ พิมพาลัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการประยุกต์ใช้บัญชีสิ่งแวดล้อม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ทัศนีย์ ธนอนันต์ตระกูล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการบัญชีสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และ
ภาพลักษณ์องค์กรของธุรกิจกระดาษในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนะพุฒ องค์ธนะสุข. (2552). ความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีไทยที่มีต่อการบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อม.
ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และวิเชษฐ์ โรจนสุกาญจน. (2540). การบัญชีสีเขียว : แนวโน้มที่โลกเรียกร้อง. เอกสาร
ประกอบการประชุมนักบัญชีทั่วประเทศ ครั้งที่ 15. หน้า 355-366.
ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล และดวงมณี โกมารทัต. (2549). การกำกับดูแลกิจการและเปิดเผยข้อมูล
ความรับผิดชอบต่อสังคม. โครงการสัมมนา ใต้ร่มพระบารมี-การบัญชีก้าวไกล.
Little, L. (2014). ปากน้ำเมืองมลพิษขยะเทียบเท่า 10 ตึกใบหยก 2. สืบค้นวันที่ 14 ตุลาคม 2557,
จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=914344
Tobtab. (2008). อุตสาหกรรมกับสิ่งแวดล้อม. สืบค้นวันที่ 8 ตุลาคม 2557, จาก http://www.tpa.or.th/
writer/read_this_book_topic.php?bookID=823&read=true&count=ture