ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

รัชดาภรณ์ ตัณฑิกุล

Abstract

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อคุณลักษณะหรือความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาที่บัณฑิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาปฏิบัติงาน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงตามข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิตจากกองนโยบายและแผน  สำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จากนั้นจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มเพื่อใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีระดับความพึงพอใจต่อคุณลักษณะหรือความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตจากมากไปน้อย พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจในด้านคุณธรรม จริยธรรมมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี และด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ

 

 

            The purpose of this research is to investigate the employers’ satisfaction with education graduates regarding attributes or work performances, to prioritize these attributes or work performances according to the needs of the employers, and to examine the employers’ satisfaction with education graduates regarding desired characteristics. The participants of this research were the educational staffs who are the employers of the graduates from Faculty of Education, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. The sample size of 200 education graduates was selected according to the graduate employment information from Planning and Policy Division, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University and used simple random sampling based on the location of the schools. The data was collected by questionnaires and was analyzed by using descriptive statistics: average mean and standard deviation.

            The result of this research found that:

            The employers of education graduates were satisfied with the graduates regarding attributes or working performances in a high level which were ethics and moral, knowledge, interpersonal skills and responsibilities, numerical analysis skills, communicative skills, information technological skills, and learning management skills, respectively.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

รัชดาภรณ์ ตัณฑิกุล

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

References

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2542). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางการปฏิบัติ, 20 ธันวาคม 2557. http://graduateschool.bu.ac.th

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (2558). ปณิธานคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 6 มกราคม 2558. http://edu.aru.ac.th

คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง. (2551). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อ

การปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา จากคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง ปีการศึกษา 2551. อ่างทอง: คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง.

คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม. (2556). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตของคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคามที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2554. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม.

จารุณี อภิวัฒน์ไพศาล. (2551). การศึกษาความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตบัญชี กรณีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, 21 ธันวาคม 2557. http://tlsd.rsu.ac.th/journal/Document/ Journal405.pdf

จำเนียร จวงตระกูล. (2542). เหลียวหลังแล. วารสารการบริหารฅน, 20(4), 6.

ดวงพร อ่อนหวาน และคณะ. (2545). การประเมินผู้สำเร็จการศึกษาสายบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยี

ราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ. เชียงใหม่: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.

ทัศนา แสวงศักดิ์. (2531). การศึกษาทําให้คนทํางานได้หรือไม. วารสารการศึกษาเพื่อพลเมืองดี, 84-86.

ธีระศักดิ์ ดาแก้ว. (2553). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2551-2552. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

พนม วงศ์ไชย. (2550). การสำรวจความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ประจำปี 2550. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิณทิพย์ แก้มแกมทอง. (2550). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ปีการศึกษา 2548-2549. เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2540). อุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรนพ พุกกะพันธ์. (2544). จริยธรรมทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.

รัชฎา ธิโสภา และคณะ. (2548). ความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

พระนครเหนือ รุ่นปีการศึกษา 2548. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วัลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2543). ลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์. วารสารรมพฤกษ์, 18 (ฉบับรวมเล่มมิถุนายน 2542-พฤษภาคม 2543), 76-85

สมชาติ กิจยรรยง. (2548). พัฒนาคน พัฒนางาน การบริหารงานบุคคลสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้ากรุ๊ป.

สมหมาย เปียถนอม. (2551). ความพึงพอใจของนายจ้าง/ผู้ประกอบการต่อการปฏิบัติงาน และ คุณลักษณะของบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปีการศึกษา 2549. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนดุสิต.