การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชุมชนกับศิลปกรรมในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – กัมพูชา

Main Article Content

นภสินธุ์ เรือนนาค
สุเทพ สุสาสนี

Abstract

        จากการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชุมชนกับศิลปกรรมในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – กัมพูชา พบว่า  ในอดีตชุมชนมีอิทธิพลต่อรูปแบบของศิลปกรรมของพื้นที่แนวชายแดนไทย – กัมพูชา  จึงทำให้ศิลปกรรมสามารถสะท้อนภาพของชุมชนได้  เป็นต้นว่า  บ่งบอกถึงช่วงเวลาที่มีการตั้งถิ่นฐาน  คติความเชื่อ  ตลอดจนเชื้อสายและภูมิลำเนาเดิมของชุมชนนั้น  ส่วนในปัจจุบัน  สภาพสังคมและการคมนาคมทำให้การเคลื่อนย้ายผู้คนและศิลปกรรมระหว่างท้องถิ่นเป็นไปอย่างคล่องตัว  จึงทำให้ชุมชนจากภายนอกเข้ามามีบทบาทในการสร้างศิลปกรรมภายในพื้นที่แนวชายแดนไทย – กัมพูชามากขึ้น และรูปแบบศิลปกรรมมีความแตกต่างกัน  นอกเหนือจากชุมชนใกล้ศิลปกรรมแล้ว  ยังมีปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลกำหนดรูปแบบงานศิลปกรรมที่สำคัญ  เช่น  พระมหากษัตริย์  พระสงฆ์  ผู้นำชุมชน  ช่าง  เส้นทางคมนาคม  เป็นต้น 

       การศึกษาศิลปกรรมในพื้นที่แนวชายแดนไทย – กัมพูชา ร่วมกับการค้นหาความเป็นมาของชุมชน  ทำให้ทราบได้ว่า  พื้นที่แนวชายแดนไทย – กัมพูชามีชุมชนตั้งอยู่แล้วตั้งแต่สมัยขอม   โดยเป็นชุมชนชาวเขมร  ชุมชนชาวส่วย  ชุมชนชาวเยอ  ชุมชนชาวจาม  ชุมชนชาวลาว ชุมชนชาวไทย  จากนั้นมีการเพิ่มจำนวนชุมชนชาวจีนและชาวเวียดนาม ทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่แนวชายแดนไทย – กัมพูชาอย่างมาก   อันเนื่องมาจากการอพยพเข้ามาของชาวเขมร  การย้ายพื้นที่ทำกินของชาวอีสาน การทำเกษตรกรรม  การทำการค้าตามช่องตะเข็บชายแดน  และทำให้พื้นที่แนวชายแดนไทย – กัมพูชามีการขยายตัวและมีคนเข้ามาอยู่อาศัยรวมทั้งประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น  โดยมีเจ้านายชั้นสูง  ขุนนาง  ข้าราชการ  นักธุรกิจ  คหบดี  เกษตรกร  รวมทั้งลูกจ้างแรงงาน  และได้กลายเป็นชุมชนเกษตรกรรม  การค้าและอยู่อาศัยที่หนาแน่นมากขึ้น

 

     The research purpose was to study the relationship between communities  and  the artistic motifs along Thai – Cambodian border. It was conducted in Ubon Ratchathani, Si Sa Ket, Surin, Sa Kaeo, Buri Ram, Chanthaburi and Trat Provinces.The results found that in the past, the communities  had closed relationship with the art motifs of the Thai – Cambodian border. The art works reflected some features of the communities. At present, due to the change of society and modern transportations, the arts of the communities were influenced by the external communities. The forms of the art were changed by them as well. Those factors influenced the community art were from the King, monks, community leaders, artists and transportations.

       The research also showed that along the Thai – Cambodian border has been populated by Khmer, Soay, Yer, Jam, Laos and Thai since Khmer period. Chinese and Vietnamese did later. because of those people, the communities were highly changed. According to the immigration of Cambodian, the relocation of the Northeastern Thais, the area for agriculture, the trading along the border was highly increased. The people were from high ranks to lab ours  moved in. They earned their lives in vary occupations. The area because populated, agricultural and trading communities.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

นภสินธุ์ เรือนนาค

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

สุเทพ สุสาสนี

อาจารย์ สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

References

จามะรี เชียงทอง. 2543. พลวัตรของชุมชนในการจัดการทรัพยากร : สถานการณ์ในประเทศไทย.

กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชญาภรณ์ ธนฤกษ์ชัย. 2551. การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการโบราณสถานเมือง

โบราณเวียงกุมกาม. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล, ภาควิขาโบราณคดี, คณะโบราณคดี,

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิดา สาระยา. 2539. อารยธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

นิรมล พงศ์สถาพร. 2551. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว กรณีศึกษาแหล่ง

โบราณคดีบ้านโป่งมะนาว ตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิเนตร ดาวเรือง. 2552. กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น อย่างมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการ

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดพุทธมงคล ตำบลคันธารราษฎร์อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีณา มูลมงคล. 2554. การศึกษาพัฒนาการของชุมชนโบราณในวัฒนธรรมเขมร บริเวณรอบ

ปราสาทเขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิลปากร, กรม. 2539. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล. 2524. สมาคมอั้งยี่ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และคณะ. 2553. สภาพการจัดการศึกษาให้กับนักศึกษาชายขอบในจังหวัด

ชายแดนของไทยที่ติดกับประเทศกัมพูชา. ศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา, สำนักงานเลขาธิการสภา

การศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สุเทพ สุนทรเภสัช. 2540. การศึกษาหมู่บ้านอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับลักษณะผู้นำท้องถิ่น.

กรุงเทพมหานคร: กองวิจัยและประเมินผล, กรมการพัฒนาชุมชน.

อุไรวรรณ รัตนวิระกุล. 2533. การศึกษาแหล่งโบราณคดี ณ วัดทองทั่วและบริเวณใกล้เคียง ตำบลคลอง

นารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.