การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ สาระประวัติศาสตร์โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ชัชพล ศิริกุล

Abstract

       การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติและเพื่อเปรียบเทียบทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จับฉลากเป็นกลุ่มทดลองจัดการเรียนรู้โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจัดการเรียนรู้แบบปกติ 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน เวลาการทดลองกลุ่มละ 18 ชั่วโมง เครื่องมือในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินทักษะชีวิต โดยใช้แผนแบบสองกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง วิเคราะห์ข้อมูลตรวจสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ ผลการวิจัย ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์มีค่าคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกับกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์มีค่าคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกับกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

 

 

             The purposes of this research were to compare critical thinking of history learning of Mathayomsuksa III students by using historical method and normal management learning method and to compare life skill in history of Mathayomsuksa III students by historical method and normal history learning management. The sample consisted of 80 Mathayomsuksa III, during the second semester of the 2014 academic year. The students were sampled by multi-stage sampling and divided into 2 groups. The experimental group consisting of 40 students was taught by the historical method.The controlled group consisting of 40 students was taught by normal method. The experiment lasted 18 hours. The tools were lesson plan of historical method, lesson plan of normal method, test of critical thinking, evaluation form of life skill, and pretest – posttest design. The data analysis was performed in term of Multivariate Analysis of Variance (MANOVA). The results showed that the average testing score of critical thinking of history learning of Mathayomsuksa III students taught by historical method was not different from the group taught by normal method at the significant level of .01. The average testing score of life skill of history learning of Mathayomsuksa III students taught by historical method was different from the group taught by normal method at the significant level of .01. The average of experimental group was higher than the controlled group.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ชัชพล ศิริกุล

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

References

กรมวิชาการ. (2541). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพความคาดหวัง สภาพปัจจุบันและปัญหาของกระบวนการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : กองวิจัยทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2540). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล และคณะ. (2543). คู่มือการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2543). คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : การศาสนา กรมศาสนา.

วีระ เตโช. (2549). การเปรียบเทียบความสามรถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเรื่อง สภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักกับวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

ศันสนีย์ นาคะสนธิ์. (2545). การศึกษาและพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรมกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สกลพร พิชัยกมล. (2549). ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้เรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิตของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนนทบุรีวิทยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. (2557). รายงานผลสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2556 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง

สิริวรรณ ศรีพหล. (2553). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษาเรื่องการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไสว ประภาศรี. (2548). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินดิเคทที่เน้นทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องวิถีชีวิตในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.