การศึกษาบรรยากาศองค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยาเขต 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบรรยากาศองค์การในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 2)เปรียบเทียบบรรยากาศองค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนกับครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 126 คน ครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 126 คน รวม 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีบรรยากาศแบบปลดเปลื้องสูงที่สุด รองลงมา คือ บรรยากาศแบบเปิดกว้าง บรรยากาศแบบผูกมัด และบรรยากาศแบบปิดกั้นตามลำดับ 2) ผู้บริหารโรงเรียนและครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการมีความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์การในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านบรรยากาศแบบเปิดกว้าง ด้านบรรยากาศแบบผูกมัด และด้านบรรยากาศแบบปลดเปลื้อง โดยผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นในทิศทางบวกมากกว่าครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ส่วนด้านบรรยากาศแบบปิดกั้น ทั้งผู้บริหารโรงเรียนและครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
The purposes of this research were to : 1) study organization climate ofschools under Phranakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1 2) to compare organization climate ofschools under Phranakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1. Representative samples for this research were 216 educational administrators and 126 heads of academic affairs, totally 252 samples. An instrument on this research were a questionnaire with reliability at 0.94.The data analysis by statistic of Mean and Standard Deviation and t-test for Independent Sampling.
The results are as followings:1) From the schools of Phranakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1, it is found that the schools have the highest atmosphere on the “Free Type”, following by “Opening climate” and “Confining climate” atmosphere, respectively. The lowest type is “Closing climate” atmosphere. 2) The overall opinions from the educational administrators and the heads of academic affairs in schools of Phranakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1 are significantly different in the statistic view at,05. The opinions of the educational administrators are higher than those of the heads of academic affairs.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
จิระศักดิ์ ธารสุขกระจ่าง. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : มนตรีการพิมพ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2554). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา : แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.
วีรวัฒน์ จตุรวงค์. (2554). การศึกษาบรรยากาศองค์การของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ศศิญดา กาวิตา. (2553). บรรยากาศองค์การของโรงเรียนในอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (2557). แผนปฏิบัติการประจำปี 2557. พระนครศรีอยุธยา : กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา.
สุวิทย์ บุญช่วย. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
อเนก ผ่องแผ้ว. (2552). บรรยากาศองค์การของโรงเรียนในอำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรัญญา ไชยศร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ บรรยากาศขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช.
Brown, W.B. and Moberg D. J. (1980). Organization Theory and Management : A Macro Practice. New York : Addison-Wesley.