การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งคลังสินค้าแห่งใหม่ กรณีศึกษา บริษัท RP สาขากรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งคลังสินค้าแห่งใหม่ กรณีศึกษา RP สาขากรุงเทพมหานคร สำหรับนำไปใช้ตัดสินใจลงทุนจัดตั้งคลังสินค้าแห่งใหม่ โดยคณะผู้วิจัยทำการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งคลังสินค้าแห่งใหม่ในด้านเทคนิคและด้านการเงิน โดยในด้านเทคนิคเลือกใช้วิธีเทคนิคการหาศูนย์กลางของการขนส่ง โดยหาทำเลที่ตั้งคลังสินค้าแห่งใหม่ที่เป็นศูนย์กลางของการกระจายสินค้าที่สามารถประหยัดต้นทุนค่าขนส่งรวมได้มากที่สุด ปรากฏว่า ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าแห่งใหม่อยู่ที่ละติจูด 13.8009 ลองติจูด 100.582 คือ พื้นที่โซนถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร คณะผู้วิจัยจึงทำการสร้างรูปแบบจำลองเพื่อแสดงความเหมาะสมในการเลือกใช้งานคลังสินค้าแห่งใหม่และแห่งเดิม โดยทดลองเปรียบเทียบระยะทางและเวลาการขนส่งระหว่างทำเลที่ตั้งคลังสินค้าเดิมกับคลังสินค้าแห่งใหม่ถึงแหล่งลูกค้า 2 กรณี โดยรูปแบบจำลองในกรณีที่ 2 คือ เลือกดำเนินการคลังสินค้าทำเลเดิมและใหม่ร่วมกัน สามารถลดระยะเวลาในการขนส่งลงได้เฉลี่ย 31 นาที ต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง เท่ากับ 198.4 บาทต่อวัน หรือ 5,158.4 บาทต่อเดือน สำหรับด้านการเงินคณะผู้วิจัยได้นำหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจเพื่อการลงทุน ได้แก่ ระยะเวลาคืนทุน (PB) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (IRR) มาใช้วิเคราะห์ พบว่า โครงการลงทุนจัดตั้งคลังสินค้าแห่งใหม่ของบริษัทในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ ทำเลที่ตั้ง ถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โดยใช้เป็นเงินลงทุนในโครงการทั้งสิ้น 63,790,000 บาท มีระยะเวลาคืนทุน (PB) อยู่ที่ 23 ปี 346 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ - 41,550,000 บาท และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (IRR) เท่ากับ 2 เปอร์เซ็นต์ ผลการวิเคราะห์ด้านการเงินทั้ง 3 วิธี ให้คำตอบเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือไม่สมควรตอบรับโครงการลงทุนเนื่องจากบริษัท มีรายได้สุทธิเฉลี่ยต่อปีน้อย เป็นผลจากการที่ไม่ได้มุ่งเน้นการทำกำไรแต่มุ่งเน้นที่จะช่วยเหลือเกษตรกรทางภาคเหนือให้มีตลาดในการขายผลผลิตได้มากกว่า อีกทั้ง มีค่าใช้จ่ายดำเนินการเป็นจำนวนมากจึงไม่คุ้มค่าหากต้องมีการลงทุนเป็นจำนวนมาก
The objectives of this research were to study possibility of establishing a new warehouse of the Bangkok branch of RP Company. For information and guidelines to be used in the decision to establish a new warehouse. The Center of gravity technique was used analyze for determine new location of warehouse in the center of distribution for the most economy of cost transport. The result of study found that a new location of warehouse is Ladprao Road, Samsen Nok, Huay Kwang, Bangkok (Latitude 13.8009 Longitude 100.582). And then we made model in 2 cases for compared between lead times transport of old warehouse and lead times transport of a new warehouse which study in second case can reduce lead times transport to average 31 minutes and reduce fuel cost to average 198.4 baht per day or 5,158.4 baht per month. For analysis of finance by concepts of the criteria in the decision to invest the payback period (Payback Period: PB), NPV (Net Present Value: NPV) and internal rate of return real (Internal Rate of Return: IRR) found that there was no possibility of invest. This project has a payback period of 23 years and 346 days is equal to the present value - 41,550,000 baht and internal rate of return real equal to 2 percentage
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
Google Inc.. 2556. ซอฟต์แวร์สำหรับค้นหาแผนที่บนโลก (Google Map). (สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2556) Available from: http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=il.
จันทนา จันทโรและศิริจันทร์ ทองประเสริฐ. 2540. การศึกษาความเป็นไปได้โครงการด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ. 261 หน้า.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. 2546. โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน “กลยุทธ์ทำให้รวยช่วยประหยัด”. โรงพิมพ์นัฏพร: กรุงเทพฯ. 352 หน้า.
นารีรัตน์ โพธิกุล. 2548. การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2548. การเงินธุรกิจ. อมรินทร์พริ้นติง แอนด์พับลิชชิ่ง: กรุงเทพฯ.