กระบวนการถ่ายทอดความรู้นาฏศิลป์ไทย: ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบความเป็นครูของครูปกรณ์ พรพิสุทธิ์ 2) ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของครูปกรณ์ พรพิสุทธิ์ มีพื้นที่วิจัยในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีศึกษาเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง จากกลุ่มประชากร นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร คัดเลือกแบบเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน วิเคราะห์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีทางวัฒนธรรม แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์แบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ท่านเป็นผู้มีบุคลิกภายนอกที่ยิ้มง่าย เป็นคนทันสมัย มีกิริยาอ่อนน้อมถ่อมตน มีความเมตตาต่อศิษย์ เข้าใจความแตกต่างของระดับสติปัญญาและความสามารถของศิษย์ มีความรู้ลึกซึ้งและเชี่ยวชาญในสิ่งที่สอน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงาน โดยยังคงรักษาความเป็นไทย มีความสามารถทำได้อย่างที่สอน และมีความเป็นกัลยาณมิตรกับศิษย์ กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของครูปกรณ์ พรพิสุทธิ์ พบว่ามี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถ่ายทอดกับผู้รับการถ่ายทอด โดยผู้รับการถ่ายทอดมีความกตัญญู มีความเคารพอย่างจริงใจ มีความอดทน อดกลั้นต่อการฝึกปฏิบัติ มีความกระตือรือร้น มีพรสวรรค์ 2) ด้านโอกาสในการถ่ายทอดถ่ายทอดความรู้ โดยการถ่ายทอดความรู้กำหนดโดยผู้บังคับบัญชา กำหนดโดย ผู้ถ่ายทอด และกำหนดโดยผู้ถูกถ่ายทอด 3) ด้านการถ่ายทอดความรู้เดี่ยวเฉพาะบุคคล ท่านจะเป็นผู้เลือกเอง ตามความเหมาะสมของตัวแสดง 4) ด้านการถ่ายทอดความรู้เป็นกลุ่ม โดยถ่ายทอดให้กับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา จัดเป็นโครงการมีบรรยายและการแสดงประกอบ หรือเป็นการสืบสานอนุรักษ์ในการแสดงนาฏศิลป์ให้คงอยู่ และ 5) ด้านการประเมินผลการถ่ายทอด โดยหลังจากถ่ายทอดเสร็จ ท่านจะคอยดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอย่างใกล้ชิด หรือจบการแสดงในแต่ละครั้งจะให้กำลังใจและข้อเสนอแนะปรับปรุง
This research aims to analyze 1) instructorship of Master Pakorn Pornpisut, 2) knowledge transfer process of Master Pakorn Pornpisut. This qualitative research was conducted in Bangkok through literature review and field research. Observation form, and series of interviews including focus group, both structured and unstructured interviews were conducted to obtain the data from a groups of 20 dance artists who have knowledge, practice, and associate with arts and culture. The sample were selected from the population of dance artists in the Office of Music and Drama, the Fine Arts Department. The obtained data were analyzed according to cultural analysis concepts and then presented in form of descriptive analysis.
According as follows; outgoing, modern, humble and merciful. In addition, the master has been known to have good understanding towards student’s diversities, regarding intelligence and ability as well as having good knowledge and proficiency in the subject. He has also been regarded to be initiative when creating an art piece, meanwhile preserving originality of Thai classical dance. Furthermore, his fellowship has been appreciated and highly regarded. The result also shows 5 aspects of Master Pakorn Pornpisut knowledge transfer process, as follows; 1) rapport between instructor and learners where gratitude, sincere respect, patience, enthusiasm and gift were established, 2) opportunity to transfer knowledge which can be set by supervisor in commanding hierarchy, instructor, and learners, 3) individual knowledge transfer, the master will make decision as appropriate, 4) group knowledge transfer to students by giving a lecture with related performance in order to promote and preserve Thai classical dance, and 5) evaluation of knowledge transfer, the master appears to be punctilious and caring about every fine detail of the performance as well as being supportive and giving constructive feedback.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา. (2515). ตำนานละครดึกดำบรรพ์ ในพื้นฐานอารยธรรมไทย. (หน้า 113-117) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์.
ทรงคุณ จันทจร. (2549). การวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2516). “กำเนิดนาฏศิลป์ไทย” ใน ที่ระลึกวิพิธทัศนาทางนาฏศิลป์ ชุด รำ ฟ้อน ละคร โขน. (หน้า 78) ลอสแองเจลิส: โรงพิมพ์ดวงประทีป.
นิยพรรณ วรรณศิริ. (2540). มนุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประเมษฐ์ บุณยะชัย. (2547). “โขนโรงใน (โขนทางละคร)” ศิลปากร. 47, 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์), 15-29.
พาณี สีสวย. (2540). สุนทรียะทางนาฏศิลป์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 10) กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์.
สุดใจ ทศพร. (2533). แบบเรียนศิลปศึกษา ศ 103 – ศ 104. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อาภรณ์ จาตุรงค์ มนตรีศาสตร์. (2525). นาฏศิลป์ศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษรสยามการพิมพ์.