ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนเกษตรไทย
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ศึกษาภาวะความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนเกษตร โดยเปรียบเทียบปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการบริโภคอาหารของครัวเรือนเกษตรกับเส้นความมั่นคงด้านอาหาร วัดสัดส่วนครัวเรือนที่มีความไม่มั่นคงด้านอาหาร ช่องว่างความไม่มั่นคงด้านอาหาร และความรุนแรงของปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร ตามภูมิภาคที่ตั้งของครัวเรือน ระดับรายได้ และกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร รวมถึงการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงด้านอาหารด้วยสมการถดถอย Logistic Regression โดยใช้ข้อมูลตัวอย่าง 12,446 ครัวเรือน ผลการศึกษา พบว่า ครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงด้านอาหารมากที่สุด การเพิ่มระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน การมีหัวหน้าครัวเรือนเพศหญิง การมีปริมาณข้าวที่เก็บไว้บริโภค การได้รับการช่วยเหลือทางการเกษตร การเพิ่มขึ้นของรายได้ทั้งที่เป็นรายภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร และการทำการเกษตรผสมผสาน จะมีผลให้ความมั่นคงด้านอาหารเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม การเพิ่มขึ้นของจำนวนหนี้สิน และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน มีผลทำให้ความมั่นคงด้านอาหารลดลง การขยายโอกาสทางการศึกษา การส่งเสริมกิจกรรมนอกฟาร์มควบคู่กับกิจกรรมภายในฟาร์ม การช่วยเหลือกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร การส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน และการดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร จะช่วยลดความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงด้านอาหาร
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
นวลน้อย ตรีรัตน์. (2551). ความมั่นคงทางอาหาร, 18 สิงหาคม 2556. http://www.nidambell.net.
ปิยะนาถ อิ่มดี. (2547). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชนบท: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านป่าค่า หมู่ที่ 2 ตำบลสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์. (2555). แนวคิดและคำนิยามของความมั่นคงทางอาหาร, 18 สิงหาคม 2556. http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/36/24.pdf.
ศจินทร์ ประชาสันติ์. (2552). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร, 21 สิงหาคม 2556.
http://www.nationalhealth.or.th/index.php?option=com_docman&task=doc_download&gid=138.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). รายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศปี พ.ศ.แรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11, 27 กันยายน 2556. http://www.isranews.org/thaireform-other-news/download/365/23850/18.html.
R.O. Babatunde, O.A. Omotesho, O.S. Sholotan. (2007). Factors Influencing Food Security of Rural Farming Household in North Central Nigeria, September 10, 2013. http://unilorin.edu.ng/publications/Babatunde/ No%203% 20factor%20influencing% 20food%20security.pdf.
FAO. (2011). Rome Declaration on World Food Security and World Food Summit Plan of Action. World Food Summit, 1996, September 10, 2013. http://www.fao.org/wfs.
Maxwell, S. and T. R. Frankenberger. (1992). Household Food Security : Concepts, Indicators, and Measurements : Technical Review United Nations Children’s Fund (Unicef) and International fund for Agricultural Development (IFAD), September 16, 2013. http://www.ifad.org /gender/tools/hfs/hfspub/hfs_3.pdf.
Ojha, P. R. (1999). Determinants of household food security under subsistence agriculture in the mid hills of Eastern Nepal, September 16, 2013. http://lib.icimod.org/ record/154/files/338.9OJD.pdf.
Gyawali, S. (2008). Food Security Assessment of Tharu Ethnic Communities in Dang District, Nepal, September 16, 2013. ttp://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2008/agsys0408gs_abs.pdf.
USIAD, (1992). Definition of Food Security, September 16, 2013. http://www.usiad.sov/policy/ads/200/ pdia/pdf.