ผลสัมฤทธิ์การทำโครงการปฏิบัติการวิชา 4572710 ความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วยการสอนแบบ PDCA ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาชุมชน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ การทำโครงการนำความรู้ภาคปฏิบัติการวิชาความสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อพัฒนาชุมชนของนักศึกษา วท.บ.คหกรรมศาสตร์ ด้วยการวางแผนการสอนแบบวงจร PDCA ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.)สาขาคหกรรมศาสตร์ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2555 และลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 11 คน ใช้กลุ่มตัวอย่างโดยสุ่มแบบเจาะจงจากนักศึกษา วท.บ.สาขาคหกรรมศาสตร์ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2553 เครื่องมือเครื่องใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า T–test ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาทั้งกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงขึ้น (8.36) มากกว่าก่อนเรียน (5.55) คิดเป็นร้อยละ 100 จากการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการด้วยการสอนแบบPDCA โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผน พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาพรวมระดับกลุ่มสูงกว่าก่อนเรียน ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ จากการจัดการเรียนการสอนแบบ PDCA
In present study, the achievement of PDCA teaching technique was investigated in the family relationship laboratory project according to the sufficiency economy. The eleven Home Economic students enrolled in the 1st semester, academic year 2013, were presented as the population by using specific random sampling. Moreover, this study was analyzed via the statistical test involving the average, standard deviation and t-test score. The result revealed the average of the post-learning achievement (X=8.36) was higher than pre-learning (X=5.55) with 100 percent. In order to the PDCA learning technique in the laboratory project related to the Sufficiency Economy, the overall of post-learning achievement was higher than pre-learning with the statistical significant at 0.05. Beside to the investigation, PDCA teaching technique was considerably encouraged the hypothesis of this study.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ทิศนา แขมณี. 2542.14วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______.2543. เอกสารประกอบการสอนการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.กรุงเทพฯ. คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 2552. แนวทางปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 พระนครศรีอยุธยา
พิชญ์ณัฎฐา วามมีศรี. 2252. การประเมินโครงการพัฒนาความปลอดภัยทางด้านอาหารในโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. กระทรวงสาธารณสุข. ปริญญานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 2552. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555. พระนครศรีอยุธยา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2548. เทคนิคการสร้างและข้อสอบความถนัดทางการเรียน. กรุงเทพฯ. สุวีริยาศาสน์.
สมสุข ศรีสุก. 2542. ผลของการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมบทบาทสมมุติที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเลขดัชนีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิทยานิพนธ์ ปรัชญาศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bloom.B.S. 1976. Human Characlevistivs and School Learning. New York. Me Crow – Hill.