ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารกับความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคใต้
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเพื่อการวางแผนและการพยากรณ์ การสั่งการ ประสิทธิภาพการควบคุม และการตัดสินใจต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ด้านความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ(2) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเพื่อการวางแผนและการพยากรณ์ การสั่งการ ประสิทธิภาพการควบคุม และการตัดสินใจต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเพื่อการวางแผนและการพยากรณ์ การสั่งการ ประสิทธิภาพการควบคุม และการตัดสินใจต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ด้านความสามารถในการปรับตัวขององค์การประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัดจำนวน 571,694 ราย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิผลการวิจัย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารทั้ง 4 ด้านได้แก่ 1) การประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเพื่อการวางแผนและการพยากรณ์ 2) การประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารในการสั่งการ 3) การประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเพื่อประสิทธิภาพการควบคุม 4) การประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารในการตัดสินใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการปรับตัวขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01โดยเฉพาะด้านประสิทธิภาพในการควบคุม เช่น การสร้างความเชื่อมั่นว่าข้อมูลทางการบัญชีบริหารที่ดีจะสามารถควบคุมการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จและควบคุมต้นทุนการผลิตได้มีประสิทธิผล
The aim of this research is (1) for testing relation between accounting information application for planning and forecast, ordering, controlling efficiency and decision toward success in operation of SMEs in ability of achieving the aim of organization side. (2) For testing relation between managerial accounting information application for planning and forecast, ordering, controlling efficiency and decision toward success in operation of SMEs in efficient resource using side. (3) for testing relation between managerial accounting information application for planning and forecast, ordering, controlling efficiency and decision toward success in operation of SMEs in adapting ability of organization. The population of this research is 571,694 chief executives of SMEs in 7 upper southern provinces. The sample is 400 people. The researchers use stratified random sampling. From the research result, find relation between managerial accounting information application all 4 sides, that is 1) managerial accounting information application for planning and forecast. 2) Managerial accounting information application in ordering. 3) Managerial accounting information application for controlling efficiency. 4) Managerial accounting information application in decision. They relate positive aim achieving ability of organization, efficient resource usage and adapting ability of organization at 0.01 statistical significance level. Specially in controlling efficiency such as building trust that good managerial accounting information can control operation to be successful and control cost of production effectively.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กชกร เฉลิมกาญจนา. (2549). การบัญชีบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุลชญา แว่นแก้ว.(2555). การประยุกต์ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ภาคอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดศรีสะเกษ. งานวิจัย.คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี :มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์.(2544). ยอดกลยุทธ์การบริหารสำหรับองค์การยุคใหม่.กรุงเทพฯ :เอ็กซเปอร์เน็ท.
ธงชัย สันติวงษ์. (2543). องค์การและการบริหารการศึกษาจัดการแผนใหม่.พิมพ์ครั้งที่11.กรุงเทพมหานคร :ไทยวัฒนาพาณิชย์.
นพเก้า ไพรลิน. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การ :ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานกลุ่มบริษัทโตชิบาประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มนูญชัย ธีระอกนิษฐ์. (2552). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เมธสิทธิ์ พูลดี. (2550). การบัญชีบริหาร.กรุงเทพฯ :ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
สมเจตต์ ปันแก้ว. (2556). ความต้องการใช้ข้อมูลทางบัญชีบริหารของผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างในอำเภอเมืองเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2549). การบัญชีบริหาร.กรุงเทพฯ :แมคกรอฮิล.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2558). ข้อมูล SMEs วิเคราะห์เชิงลึกกลุ่มจังหวัด.กรุงเทพฯ :กระทรวงอุตสาหกรรม.
อนุรักษ์ ทองสุขโขวงศ์ และศิริลักษณ์ ศุทธชัย. (2553). การใช้ประโยชน์จากรายงานการเงินของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ: 79-85.
Utz Schäffer and Daniel Steiners. (2004). The use of management accounting information, learning and organizational performance. Chair of Management Accounting & Control European Business School, (may). 11. pp.1-34.
Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. New York : Harper and Row Publication.