ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพิจารณาเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพิจารณาเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีคุณลักษณะของกิจการแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 400 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน. สำหรับการทดสอบสมมติฐานเพื่อการเปรียบเทียบระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ใช้สถิติ F-test (One-way ANOVA) สำหรับกลุ่มประชากรมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป
ผลการศึกษาพบว่าระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการพิจารณาเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ผลิตและโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการสนับสนุนและการให้บริการหลังการขาย รองลงมา คือด้านขีดความสามารถของโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี และด้านต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดหาโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี อยู่ในระดับมาก
ผลการการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แตกต่างกันตามคุณลักษณะของกิจการ พบว่า พบว่า ขนาดของกิจการ อายุของกิจการ และยอดขายโดยเฉลี่ยของกิจการแตกต่างกันส่งผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The aim of this research is for studying factors that affect to adopt accounting program and for comparing factor that affect to adopt accounting program of different SMEs. The sample of this research is 400 executives of SMEs. We use questionnaire for collecting data and then use descriptive statistics for analyzing data, that is frequency, percentage, mean and standard deviation. We use F-test(One-way ANOVA) for statistical hypothesis testing to compare between independent variable and dependent variable, for more than 2 groups of population.
From research result, we find opinion level of people who answer questionnaire toward factors that affect to adopt accounting program of SMEs is at high level in overview. And when we consider each side, we find producer credit side and accounting program side are at highest level, that is support and after-sales service side, the second are at high level, namely capability of accounting program and cost and expense of accounting program supply side.
The result of comparing factors that affect to adopt accounting program of SMEs is different depend on attribute of enterprise, we find different size of enterprise, different age of enterprise and different average sales volume of enterprise affect accounting program adoption differently at 0.05 statistical significance level.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
การประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). (2558). [Online] Available : http://www.moo-pooklook.com/business/lesson%203.pdf. ค้นเมื่อ [2558, พฤศจิกายน 18].
เกรียงศักดิ์ ผาติบัณฑิต และคณะ. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิระ จริงจิตร. (2542). เทคนิคเลือกใช้ซอฟท์แวร์ระบบบัญชี. กรุงเทพฯ. Soft Express & Publishing (SE&P).
นงนิภา ตุลยานนท์ และคณะ. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ซอฟต์แวร์ในงานบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นภาพร ลิขิตวงศ์ขจร และไพลิน ตรงเมธีรัตน์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ซอฟต์แวร์ทางการบัญชีของหน่วยธุรกิจในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 28 (1) : 33 – 47.
ปัทมาวดี ดวงดารา. (2558). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของสถานประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 4 (1) : 9 – 20.
ปรียนันท์ วรรณเมธี. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของอุตสาหกรรมการผลิต ในเขตกรุงเทพฯ. วารสารการประชุมวิชาการ มหาวิทยัยกรุงเทพ. 1 (1) : 3 – 15.
มยุรี อรรธนิศากร. (2550). การศึกษาและกำหนดกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดของห้างหุ้นส่วนลลนาจำกัด. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วรรณี เตโชโยธิน. (2541). ปัจจัยที่ควรคำนึงในการเลือกซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี (บทคัดย่อ). วารสารบริหารธุรกิจ. 21 (79) : 18 – 26.
วัชนีพร เศรษฐสักโก. (2548). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี . ภาควิชาการบัญชี คระพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
สุตราวดี บัวเทศ. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (บทคัดย่อ). วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรรพากรสาส์น วารสารความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร. (2558). บริหารจัดการ SMEs ด้วยระบบบัญชี. [Online] Available : http://www.sanpakornsarn.com. ค้นเมื่อ [2558, พฤศจิกายน 14].
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2558). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2558. [Online] Available : www.sme.go.th. ค้นเมื่อ [2558, พฤศจิกายน 14].
อุไรวรรณ หงส์ชัย. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี และระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.
Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. New York : Harper and Row Publication.