การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

Main Article Content

อำพล พาจรทิศ

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยมีกระบวนการวิจัย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นสร้างรูปแบบการสอน 2) ขั้นนำรูปแบบการสอนไปใช้ในสถานการณ์จริง ลักษณะการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ชั้นปีที่ 1 จำนวน 19 นาย เครื่องมือที่ใช้คือแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) ขั้นประเมินรับรองเป็นการประเมินรับรองรูปแบบการสอนฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนนายร้อยฯที่มีต่อรูปแบบการสอนฯโดยแบบสอบถาม

               ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ามีชื่อเรียกว่า “CIAFPA” มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ เตรียมความรู้เข้าสู่ปัญหา ระบุปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ค้นคว้าเพิ่มเติม เสนอและเลือกวิธีการแก้ปัญหา และ ประเมินผลการแก้ปัญหา 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนการวัดทักษะการแก้ปัญหาระหว่างการใช้รูปแบบการสอน มีแนวโน้มของพัฒนาการการแก้ปัญหาของผู้เรียนสูงขึ้น โดยพิจารณาจากผลคะแนนจากรูปแบบการสอน จำนวน 4 ครั้ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ระดับการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และระดับความพึงพอใจของนักเรียนนายร้อยฯที่มีต่อรูปแบบการสอนฯอยู่ในระดับมากโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.24

 

 

             The purpose of the study is to develop an instructional model to develop problem-solving skills for Chulachomkloa Royal Military Academy cadets. The research process was consisted of three stages. The first stage was constructing the instructional model. The second stage was implementing the developed instructional model using one-way repeated measured design of action research with 19 first year cadets of Chulachomkloa Royal Military Academy. The third stage was evaluating the efficiency of the model and students’ satisfaction. The model’s efficiency evaluation was done through 7 experts and the students’ satisfaction evaluation was done through the use of questionnaires.

               The results of the study: it was found that 1) The developed model is called “CIAFPA” model featuring of 6 steps of learning activities: Checking knowledge to face the problem, Identifying the problem, Analyzing the problem, Fulfilling information, Propose and choosing solutions and Assessing outcomes.  2. There is a tendency of problem-solving skills development during teaching by the “CIAFPA” model considered from the problem-solving scores with a statistical significant difference level of .05. 3. The model efficiency evaluation by 7 experts has the average score of 4.62 and the students had high satisfaction toward the “CIAFPA” model with the average score of 4.24.

 

  

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชัย ทองดีเลิศ. (2547). การนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนิสิตระดับ

ปริญญาตรีที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและ

สื่อสารการศึกษา,คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี แย้มกสิกร. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบของนิสิตระดับ

ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและ

พัฒนาหลักสูตร, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุดา รักไทย และ ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์. (2542). เทคนิคการแก้ปัญหาและตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

ศรีสุรางค์ ทีนะกุล. (2542). การคิดและการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

สนิท ตีเมืองซ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีการช่วยเสริมศักยภาพ

ทางการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชคอมพิวเตอร์ศึกษา, ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุเทพ อ่วมเจริญ. (2547). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 462411 การออกแบบการสอน.

นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุปรียา วงษ์ตระหง่าน. (2546). การจัดการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก. วารสารข่าวสารกองบริการการศึกษา, 6 (1).

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2534). ความขัดแย้ง: การบริหารเพื่อการสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ตะเกียง.

แสงทอง บุญยิ่ง. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจฉรีย์ พิมพิมูล. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันแบบออนไลน์จิ๊กซอว์ที่มีประสิทธิภาพ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Duch, B. J. (1996). Problem-Based Learning in Physics: The Power of Students Teaching

Students. Journal of College Science Teaching.

Fosnot, C. (1996). Constructivism: Theory, perspectives, and practice. New York: Teachers College Press.

Krulik S., and Rudnick, J. (1993). Reasoning and problem solving: A handbook for elementary school teachers. Boston: Allyn and Bacon.

Piaget, J. (1972). Intellectual evolution for adolescent to adulthood. Human Development, 19, (1-2).

Vygotsky, L.S. (1978). Mind in Society. Cambridge: Harvard University Press.