การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

พเยาว์ โพธิ์อ่อน

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดย 1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2. การสร้างรูปแบบการสอนอ่านและคู่มือประกอบการใช้รูปแบบการสอนอ่าน 3. การตรวจสอบคุณภาพและปรับปรุงรูปแบบการสอนอ่าน และขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดย 1. การพัฒนาแบบประเมินรูปแบบการสอนอ่าน 2. การทดลองใช้รูปแบบการสอนอ่าน 3. การสรุปผลและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้แบบแผนการทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านพนมรอก จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1. แบบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย  2. แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการสอนอ่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

             ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบการสอนอ่าน แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสอนอ่าน หลักการของรูปแบบการสอนอ่าน วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอนอ่าน เนื้อหาของรูปแบบการสอนอ่าน กระบวนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนอ่าน โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ 1.1 การสร้างประสบการณ์ 1.2 การอ่าน  1.3 การจับใจความ 1.4 การประเมินผล และการประเมินผลรูปแบบการสอนอ่าน โดยมีคุณภาพของรูปแบบการสอนอ่านอยู่ในระดับมาก 2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการสอนอ่านอยู่ในระดับมากที่สุด

 

 

             This research is intended to develop a model for teaching reading for understanding Thai language for elementary education students by using a combination of research and development. There are two steps of the research process. First procedure is development of the model for teaching reading to improve Thai language on reading  understanding  for elementary education students by 1. studying and analyzing of  basic data, 2. creating a model for teaching reading and a manual for the model of teaching reading, 3. monitoring quality and improving the model for teaching reading. Second procedure is a study of results of teaching reading for understanding Thai language according to the model developed by 1. developing an assessment form for the model of teaching reading for understanding instruments in Thai language, 2. giving the developed model of teaching reading a trial, 3. summarizing and analyzing the data, using the same experimental group pretest posttest design. The sample group comprises grade 4 students during academic year 2016, Ban Phanomrok School, totaling 30 student, derived from a random group. The instruments include 1. a Thai language reading comprehension measurement form, and 2. a form to measure satisfaction of teaching and learning with this form of teaching reading. Data analysis was done by using the results of mean, standard deviation and t-test. The research results are as follows: 1. The developed teaching reading model for understanding Thai language consists of seven components: background and importance of the teaching reading model, concepts and theories, principle of the model, purpose, contents of the model, process of teaching  and learning, teaching reading which has 4 procedures 1.1 Building experience 1.2 Reading 1.3 Comprehension for main ideas 1.4 Evaluation, and evaluation of the model of teaching reading. The quality of the teaching reading model as evaluated is at a high level. 2. Students who learned with the model of teaching reading for understanding Thai language have understanding of Thai language higher than before significantly at the 0.01 level and have satisfaction with learning by using the teaching reading model at the highest level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

พเยาว์ โพธิ์อ่อน

หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการการศึกษาและการเรียนรู้มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์   จังหวัดนครสวรรค์

 

References

กาญจนา นาคสกุล. (2550). แบบการเสริมสร้อยในภาษาไทยและภาษาเขมร. ภาษาและวรรณคดีไทย, 14, 1-27.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บันลือ พฤกษะวัน. (2538). มิติใหม่ในการสอนอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ฤทัยรัตน์ ลอยเจริญ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจระดับสูงในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการการศึกษาและการเรียนรู้). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

ศุภวรรณ์ เล็กวิไล. (2539). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยกลวิธีการเรียนภาษาโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุจิตรา ศรีนวล. (2534). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธีการอ่าน- การคิด สำหรับนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (2556). ผลการสอบวัดความสามารถในการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ Reading Literacy นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. นครสวรรค์ : ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

Bell-Gredler, M.E. (1986). Learning and instruction. New York : Macmillan.

Nolte, R.Y. & Singer,G. (1985, October). Active comprehension : Teaching a process of reading comprehension and its effects on reading achievement. The Reading Teacher, 39, 24-31.

Shorland, J. B. (1987, January). “The Development and Testing of an Instructional Strategy FolImp to ving Reading Comprehension Based on Schema and Metacognitive The ories.”Dissertation AbtractsInternational.Vol.47 No. 7: 2526-A.