ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

Main Article Content

ชาณิกา ปัญจพุทธานนท์
รัตพงษ์ สอนสุภาพ

Abstract

             บทความการศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง “ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า    จากแสงอาทิตย์ของประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ของประเทศไทย 2. ศึกษาแนวนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรค จากภาครัฐ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนในอนาคต โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 3 คน จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ กรรมการกำกับกิจการพลังงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) 1 คน รองผู้อำนวยการกองส่งเสริมพลังงานทดแทนและผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 1 คน และ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) 1 คน  ใช้กระบวนการวิจัยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เป็นหลัก และวิธีการวิจัยเอกสารเพื่อเสริมเกี่ยวกับนโยบาย แผน และมาตรการด้านพลังงาน รวมทั้งข้อกฎหมายต่างๆ  ผลการวิจัยพบว่า พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานซึ่งหลายฝ่ายมองว่าน่าจะมีศักยภาพและสามารถแก้ปัญหาการพึ่งพิงแหล่งพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ ขณะที่ภาคธุรกิจเองก็ให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้ การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยังมีปัญหาอุปสรรคหลายประการ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายภาครัฐและการนำนโยบายสู่การปฎิบัติ ที่ไม่ครอบคลุมและยังมีความไม่ชัดเจน ทั้งข้อกฎหมาย กฎระเบียบ และการบริหารจัดการระบบสายส่งไฟฟ้าที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน รวมถึงองค์กรของรัฐยังขาดความเป็นเอกภาพ จนส่งผลทำให้กระบวนการทำงานเกิดความล่าช้า และมีการแทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์   ข้อเสนอแนะ ให้ภาครัฐควรกำหนดแผนและวางเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในระยะยาวที่ชัดเจน และมีเสถียรภาพ การกำหนดมาตรการส่งเสริมและการจูงใจรับซื้อไฟฟ้าในอัตราเพิ่มพิเศษ เช่น FiT หรือ Adder ต้องคำนึงถึงปริมาณไฟฟ้าที่รับซื้อให้เหมาะสมในแต่ละประเภทเพื่อไม่สร้างภาระต่อผู้บริโภคที่สูงเกินไป ขจัดความไม่ชัดเจนและข้อทับซ้อนของกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานทดแทนที่กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการให้เกิดการยอมรับในการประกอบกิจการด้านพลังงานให้มากขึ้น

 

 

              The objective of this article research was to investigate 1) the problem and obstacle affecting the development of solar energy in Thailand, and 2) examine policies and measures from the public sector to solve these problems in order to enhance the development of renewable energy in the future. By using “Qualitative Research” A group of three people from the primary to choose a specific energy regulatory commission and the energy regulatory commission (ERC) 1 people, Deputy director promote renewable energy and small power producers. The provincial electricity authority (PEA) 1 people and vice president of SPCG public company limited 1 people. The researchers used depth interviews and primary research methods to enhance documents. About policy plans and measures on energy. Including legislation

               The findings indicated that solar power, whereas it was considered to be the potential energy source to solve problems of the dependence on power energy from fossil fuels. As the private sector itself is also interested to apparently invest in solar power. In fact, there are several problems regarding the production of solar power due to the implementation of government policy into practice. The legal, regulatory and transmission system were not conducive to the development of renewable energy. The State Organizations also lack unity. As a result, the entire process of work has been delayed. The intervention or conflict of interest groups still exist. This research suggested the government should set long-term goals and plan for the purchase of solar power in line with much clearer and more reliable measures; promote and encourage the purchase of electricity from the private solar power producer with the extra buying rate called FiT or Adder. Both the amount of electricity purchased and Fit rate should be in accordance with each category of electricity resources so as not to highly burden to overall electricity consumption bill, and eliminate uncertainty and overlapping of regulations or applicable laws of renewable energy from several different public departments. Finally, the government will get more trust and acceptance from the entrepreneur in the field of energy business.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ชาณิกา ปัญจพุทธานนท์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

รัตพงษ์ สอนสุภาพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง  (ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเตอร์เน็ต)วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2558). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

พ.ศ.2558-2579)สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์, 2559, จาก :

http://www.dede.go.th/download/files/AEDP2015_Final_Vision.pdf.

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ. (2556). มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติครั้งที่ 2/2556.”

สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน, 2559, จาก: http://www.eppo.go.th/nepc/kpc/kpc-145.html.

ชูศักดิ์ วงษ์สวัสดิ์. (2559). ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม,

จาก : http://www.thai-water.com/Portals/0/seminar/Presentation/01.

ชาย ชีวะเกตุ และ ชนานัญ บัวเขียว.(2543) การผลิตไฟฟ้าโดยเซลส์แสงอาทิตย์. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2559

จาก : http://www2.eppo.go.th/vrs/VRS49-09-Solar.html.ฃ

ณิชยารัตน์ พาณิชย์. (2556). แนวทางการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชนของประเทศไทย.”

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ และคณะ. (2550). โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อศึกษาโครงสร้างระบบพลังงานทางเลือก

ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย, สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

วิสาขา ภู่จินดา. (2555). “การบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตพลังงานใช้ในระดับชุมชนและระดับ

ครัวเรือน.” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. ศูนย์

เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 6. “BOI ประกาศ 1/2557 มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุง

ประสิทธิภาพการผลิต”, สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม, 2559 จาก :

http://www.chemwinfo.com/privatefolder/Uploadfile2014October/BOI.pdf