ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์(e-LAAS) ของหัวหน้างานบัญชีและการเงินของเทศบาลตำบลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร และกระบวนการใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์(e-LAAS) ของหัวหน้างานบัญชีและการเงินที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ของเทศบาลตำบลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ หัวหน้างานบัญชีและการเงินของเทศบาลตำบลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 378 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารและปัจจัยด้านการใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ของหัวหน้างานบัญชีและการเงินของเทศบาลตำบลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับปานกลาง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น .566 และ .609 ตามลำดับ
The purposes of this study were to study the factors in administrative process and procedure in e-LAAS for the accounting and finance chiefs in the sub-district municipality of the local administration. The sampling group for the study was 378 of the accounting and finance chiefs in the sub-district municipality of the local administration. The data analysis was used by descriptive statistics as frequency, percentage, average and standard deviation. The data analysis was used by inferential statistics as multiple regression analysis.
The result of the study found that the factors in administrative process and factors in e-LAAS were related to the effectiveness in operation of e-LAAS for the accounting and finance chiefs in the sub-district municipality of the local administration was in the medium level by multiple coefficient correlation was .566 and .609 respectively.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.(2551). คู่มือปฏิบัติงานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
_______. (2559). คู่มือปฏิบัติงานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
พรปวีณ์ ประวัง. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อรพรรณ อินทรแหยม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม
ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อนัญญา ผมทอง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครสวรรค์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Mebane, A. K, Donna and Davis. (1981). P Solving College and University Problems Through technology: Inter-University ommunications Council (EDUCOM). NewJerey: Princeton.
Nicolau, David P., et al. (1995). “Experience with a once-daily aminoglycoside programadministered to 2,184 adult patients”.Antimicrob Agents Chemother. 39 (Mar. 1995), 650-655.
Yamane,T.(1973). Statistic:An Introductory Analysis. 3 rded. New York: Harper and Row.