การศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ปรียวาท น้อยคล้าย

Abstract

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา  2. เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 กลุ่ม  คือ  กลุ่มที่  1  ผู้ทรงคุณวุฒิเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษา  จำนวน  4 คน  และผู้นำชุมชน จำนวน 4 คน  รวมจำนวน 8 คน  ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ และกลุ่มที่  2  เลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน  รองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน ครูหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 8 คน ครูหัวหน้างานบุคลากร จำนวน 8 คน ครูหัวหน้างานกิจการนักเรียน จำนวน  8 คน  ครูหัวหน้างานธุรการ การเงินและพัสดุ จำนวน 8 คน ครูหัวหน้างานอาคารสถานที่ จำนวน 8 คน  ครูหัวหน้างานสัมพันธ์ชุมชน จำนวน  8 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 40 คน รวมจำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  มีค่าความเชื่อมั่น .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา  ทั้ง 5 ด้าน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  พบว่า  ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ  มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล   ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  ด้านการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรและเทคโนโลยี  และด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน  ตามลำดับ 

 

              This research aims to 1. Study of Participation Guidelines of Community in Administration of           Schools under Phranakhon Si Ayutthaya City Municipality. and  2. Guidelines the development and improvement of community participation in school management to be effective. The sample were 2 size. The  first group  Advisory  by  purposive  sampling consists of 4 school administrators of large schools and 4 community leaders under Phranakhon Si Ayutthaya City Municipality. The second  group  8  administrators of large schools, 8 assistant,  8 head teachers of academic affairs, 8  head  teachers of personnel, 8  head  teachers of student affairs, 8 head teachers of finance and supply, 8  head teachers of buildings, 8 head teachers of community relations and 40 community  leaders. The research instrument was a structured interview and a five-rating scale questionnaire with the reliability of .94, and the data were analyzed by using mean and standard deviation.

              The findings are as follows: as a whole, the five aspects of the participation guidelines of community in administration of schools under Phranakhon Si Ayutthaya City Municipal were at a high level.  When each aspect was considered, it was ranked from the highest to the lowest as follows: participation in   operation, participation in evaluation, participation in decision making, the  considering  item  sort  by  average  descending  follows, The  participation  in  the  operation  section, The  participation in  the  evaluation  section  was  at  the  highest, The  participation in decision making  section,  participation in mobilization of local resources and technology, and participation in planning.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ปรียวาท น้อยคล้าย

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา    จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  

References

กรมวิชาการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

กิ่งแก้ว หมุดธรรม. (2550). การศึกษาสภาพการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนวัดบางพลีน้อยกับชุมชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ชิษณุ พงศ์พลหาราช. (2552). สภาพและปัญหาการดำเนินการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน

กับชุมชนของโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 3 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน

จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม.

ปฏิคม สากระจาย. (2551).การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนเกี่ยวกับ

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัด การศึกษาของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา) เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิพล พัฒนะ. (2545). การเปรียบเทียบกระบวนทัศน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนครอบครัว ชุมชน ของครู ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พระธีรพงค์ ธีรปญฺโญ (วรรณสอน). (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

พันธุ์ทิพา ศรีตะพัสโส.(2552). ศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: กรณีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภิญโญ อุโคตร. (2551). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการระดมทรัพยากรเพื่อการสนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา) เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วันชาติ ดนเสมอ. (2551). การศึกษาปัญหาและแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจาบอำนาจการบริหารและ จัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาตามกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รายงานการวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาของเทศบาล. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

อุทัย แสงสุวรรณ. (2549). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสถานศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยแม่เลียม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 เชียงราย. การศึกษาอิสระ ค.ม.(การบริหารการศึกษา) เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.