ประสิทธิผลการอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยของนักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

Main Article Content

พัชรีวรรณ กิจมี
สุกัญญา นิมานันท์

Abstract

                การวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลการอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยของนักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ปีการศึกษา 2557 จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยของนักศึกษาหลักสูตร ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น และแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

               ผลการวิจัยพบว่า  ประสิทธิผลการอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น โดยแยกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพ ด้านปริมาณ และด้านความตรงต่อเวลา  พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า โดยรวมและรายด้านการอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยมีประสิทธิผลมากเนื่องจากนักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยไปปฏิบัติได้อยู่ในระดับมากและจากการสัมภาษณ์พบว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา ทำให้ทราบแนวทางในการดำเนินงานวิจัยที่ถูกต้อง สามารถค้นหาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับงานวิจัยได้ ทำให้นักศึกษามีการพัฒนาตนเอง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปให้คำแนะนำปรึกษาสำหรับเพื่อนนักศึกษาและบุคคลอื่นได้และการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ  มีส่วนในการกระตุ้นหรือเป็นกำลังใจให้นักศึกษาทำงานเสร็จเร็วขึ้น เพราะเมื่อนักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยแล้ว จะส่งผลให้นักศึกษาสามารถทำงานวิจัยได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น การพบปะกับอาจารย์ที่ปรึกษาและเพื่อนนักศึกษาในการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ  ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำวิจัย และยังได้รับคำแนะนำจากอาจารย์อีกด้วย

 


                The research titled “Thesis Workshop Effectiveness of Far Eastern University Students in Master of Education” aimed to investigate the thesis workshop effectiveness of Far Eastern University students in Master of Education.  The population used in this study was Master of Education graduates from Far Eastern University in the academic year 2014 numbering 51 people.  The tools used in this research were questionnaires about the thesis workshop effectiveness of Far Eastern University students in Master of Education and interviews.  The data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation and the interviews were analyzed by content analysis. 

                 The findings were as follows:  According to the thesis workshop effectiveness of Far Eastern University students in Master of Education divided into 3 aspects; quality, quantity and punctuality,  most respondents thought that thesis workshop effectiveness because the students could apply the knowledge gained from the thesis workshop into practice at high level as the whole picture and each aspect.  In addition, the results of interviews showed that found this thesis workshop was beneficial to students in many cases, such as to know how to conduct a research correctly, to be able to search literature reviews and to select appropriate statistics for researches, to help the students develop themselves, to be able to apply gained knowledge to give advices to fellow students and others.  In addition, the thesis workshop contributed to stimulate or encourage the students to get work done faster because when the students had knowledge and understanding of the research process, it helped them be able to conduct researches much faster.  Moreover, having a meeting with their advisors and fellow students while attending the workshop helped the students have an opportunity to exchange experiences in conducting researches and be guided by their advisors as well.


Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

พัชรีวรรณ กิจมี

อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น                                                                                   

สุกัญญา นิมานันท์

อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

References

เกษม วัฒนชัย. (2546). ธรรมาภิบาลกับบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.

งามตา ตันนุกูล. (2538). การศึกษาโปรแกรมการผลิตมหาบัณฑิตภาคนอกเวลาราชการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉลาด จันทรสมบัติ และทองสง่า ผ่องแผ้ว (2553). การเขียนวิทยานิพนธ์. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทองสง่า ผ่องแผ้ว. (2550). การเขียนวิทยานิพนธ์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นฤมล เนตรวิเชียร. (2556). ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมต่อการกำหนดตนเองของนิสิตปริญญาโท ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย. (2553). คู่มือการทำวิทยานิพนธ์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, บัณฑิตวิทยาลัย. (2555). คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย.

มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2553). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย ตันศิริ. (2549). อุดมการณ์ทางการศึกษา: ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538, กุมภาพันธ์-มีนาคม) “ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้” วารสารข่าวสารการวิจัยการศึกษา. 18(3), 8-10.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2548). ภาวะผู้นำของผู้บริหารมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 และแนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุภาพันธ์ สายทองอินทร์. (2554). การพัฒนาประสิทธิผลในการทำงานของผู้ทำบัญชี หลังจากเข้ารับการพัฒนา ความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โสภนา สุดสมบูรณ์. (2550). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.