ผลกระทบของทักษะและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานตรวจสอบ ที่มีต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย

Main Article Content

นวพร ขู้เปี้ยเต้ง
ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของทักษะและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานตรวจสอบ ที่มีต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายบัญชี พนักงานบัญชี ซึ่งปฏิบัติงานในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทยยื่นตรวจสอบและรับรองบัญชีต่อกรมสรรพากร ประจำปี 2558 ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตร Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ศึกษาผลกระทบโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

               ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ มีความรู้ทางด้านการบัญชีในระดับปานกลาง ลักษณะของกิจการส่วนใหญ่เป็นกิจการให้บริการ ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจคือ 10 ปีขึ้นไป – 20 ปี การทดสอบผลกระทบพบว่าทักษะในการปฏิบัติงานตรวจสอบ และจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานตรวจสอบมีผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย โดยทักษะด้านการสอบบัญชี และจรรยาบรรณด้านความซื่อสัตย์สุจริต มีผลกระทบต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทยทุกด้าน ได้แก่ ด้านความถูกต้อง ด้านความชัดเจน ด้านความรัดกุม ด้านความสร้างสรรค์ ด้านความสมบูรณ์ และด้านความทันกาล

 

               The purposes of this quantitative research were to study the effect of the skills and ethics in auditing operation which has affected to the quality of the auditing report and certified for the tax auditors in Thailand. The sampling group for this study was the owner or managing partner, chief accountant and the accountants who were operating in registered partnership that tax auditors in Thailand submit to audit and certified accounts to Revenue Department in the year 2558. The researcher specified the size of the sampling group by using Taro Yamane which has the confidence level at 95%. The sampling group was in the amount of 398. The tool for data collecting was questionnaire which is to study the effect by using Multiple Regression Analysis.

               The result of the study found that most questionnaire respondents were the owner or managing partner who had the knowledge in accounting at the medium level and most of the type of the business was in the service industry. The period of the business operating was ten up to twenty years. The effect test found that the skills and ethics in auditing operation had the effect in positive way and related to the quality of the auditing report and certified accounts for the tax auditors by the skills of the audit and ethics in honesty which has the effect in the quality of audit report and certified accounts for the tax auditors in Thailand in all aspects were as follows: accuracy, clarity, conciseness, creativity, completeness and timeliness.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

นวพร ขู้เปี้ยเต้ง

นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะบัญชี  มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพมหานคร 

ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์

อาจารย์ ผศ.ดร., คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2544). กฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2544, 25 ธันวาคม 2558

http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=1079

กรมสรรพากร. (2558) รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากร, 24 พฤศจิกายน 2558. Website: http :/www.rd.go.th/Tax Auditor

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะและศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การสอบบัญชี. กรุงเทพมหานคร: ทีพีเอ็นเพรส.

เพ็ญธิดา พงษ์ธานี. (2555). ผลกระทบของความรู้ทักษะ ค่านิยม จรรยาบรรณ และทัศนคติในวิชาชีพต่อสมรรถนะของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, งานวิจัย คณะบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ไพโรจน์ เกตุภักดีกุล. (2545). การวิจัยเชิงสำรวจเกี่ยวกับคุณสมบัติ ความรู้ความชำนาญของผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ห้างหุ้นส่วนขนาดเล็กพึงประสงค์ : เขตกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มณฑิรา กิจสัมพันธ์วงศ์. (2550). ผลกระทบของเทคนิคการสอบบัญชีและมรรยาทของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชี, วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เมธสิทธิ์ พูลดี. (2550). ระบบบัญชี Accounting Systems. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สราวุธ เจษฎาคำ. (2557). ปัจจัยนำไปสู่การพัฒนาปัญญาทางเทคนิคและทักษะการสอบบัญชี ความฉลาดทางอารมณ์ และทัศนคติทางจรรยาบรรณวิชาชีพ, ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรุษ คงรุ่งโชค. (2551). ระบบสารสนเทศทางการบัญชีAccounting Information Systems. กรุงเทพมหานคร: ท้อป.

Anantharaman, D. (2012). Comparing self-regulation and statutory regulation: Evidence from the accounting profession. Accounting, Organizations and Society, 32(2), 1-17.

Bedard, Jean. (1989). Expertise in Auditing: Myth or Reality, Accounting Organization and Society. 14(1-2), 113-131.

DeAngelo, L.E. (1981). Auditor Size and Audit Quality. Journal of

Accounting and economics. 19 (1), 183-199.

Jeong, Seok Woo and Rho, Joonhwa. (2004). Big Six auditors and audit quality: The Korean evidence.The International Journal of Accounting. Vol.39,175-196.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.