การศึกษาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้บริหาร และครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ดวงรำไพ งามศัพท์

Abstract

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียน  2. ศึกษาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา  และ 3. เปรียบเทียบสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้บริหาร กับครู ในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 152 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 16 คน ครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 8 คน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 64 คน และครู สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จำนวน 64 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test ชนิดกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน

               ผลการวิจัยพบว่า  1.สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ และนวัตกรรมทางการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2.สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ และนวัตกรรมทางการศึกษา ด้านวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ 3.สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้บริหารกับครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านการใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ และนวัตกรรมทางการศึกษา และด้านวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวม และเป็นรายด้าน ทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

 

              This research aims to: 1. study the teachers’ competences in learning management according to the perception of school administrators 2. examine the teachers’ competences in learning management according to the perception of teachers, and 3. compare the teachers’competences in learning management according to the perception of school administrators and teachers in schools under Municipality Phranakhon Si Ayutthaya.The sample size by using a table of Krejcie and Morgan amount 152 consists of 16 school administrators 16 head of academic affairs 64 head teachers of 8 group learning subjects and 64 teachers under Municpality Phranakhon Si Ayutthaya by purposive sampling. The instrument is a five-rating scale questionnaire. The data were analyzed by mean,standard deviation, and t-test for independent samples.

               The findings revealed that: 1. the teachers’ competency in learning management according to the perception of school administrators is at a high level. The side with the highest average is in the process of learning, followed by the media. Learning Center And educational innovation And the average minimum is the creation and development of school curiculum.2. as a whole, each aspect of the teachers’ competences in learning management according to the perception of teachers in schools under Municipality Phranakhon Si Ayutthaya is at a high level.  At a high level The side with the highest average is in the process of learning, followed by the media. Learning Center And educational innovation The measurement and evaluation of learning. And the average minimum is the creation and development of school curriculum. and 3)The teachers’ competences in learning management according to the perception of teachers in schools under Municipality Phranakhon Si Ayutthaya in accordance with the school administrators and teachers opinions are significantly different at the level of .05.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ดวงรำไพ งามศัพท์

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  

References

จุฑารัตน์ ชุ่มประดิษฐ์. (2556). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉันทนา บุตรมาก. (2555). การศึกษาสมรรถนะครูของครูโรงเรียนอนุบาลชลบุรี ตามความรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา. (2552). แผนการดำเนินงานเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาประจำปี 2552. พระนครศรีอยุธยา : ผู้แต่ง.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ :

บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7)กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มะห์ดี มะดือราแว. (2551). สมรรถนะครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยทักษิณ

วิราวัลย์ ศรีกระทุ่ม. (2555). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2554). สมรรถนะครูกับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสาธิตในจังหวัดนครปฐม.