การศึกษาการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบทบาทผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาและ 2. เปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนกับครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน จำนวน 152 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 8 คน รองผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 8 คน ครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 8 คน ครูหัวหน้า 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 64 คน และครูสังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จำนวน 64 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test ชนิดกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการบริหารหลักสูตรท้องถิ่น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้ทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และ 2. บทบาทผู้บริหารในการบริหารหลักสูตรท้องถิ่น ของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาความความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนกับครู ในภาพรวม และเป็นรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research aims to: 1. study the roles of school administrators in the local curriculum administration of school under Phranakhon Si Ayutthaya City Municipality, and 2. compare the roles of school administrators in the local curriculum administration of schools under Phranakhon Si Ayutthaya City Municipality in accordance with the school administrators and teachers’ opinions. The sample size by using a table of Krejcie and Morgan amount 152 consists of 16 school administrators 8 head of academic affairs 64 head teachers of 8 group learning subjects and 64 teachers under Phranakhon Si Ayutthaya City Municipality by purposive sampling. The instrument is a five-rating scale questionnaire. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test for independent samples.
The findings revealed that: 1. as a whole, the roles of school administrators in the local curriculum administration of schools under Phranakhon Si Ayutthaya City Municipality are at a high level. The highest level average is the learning management, followed by innovation and technology of the local curriculum administration, and the lowest average is resource and learning resource use in the community, and 2. as a whole, the roles of school administrators in the local curriculum administration of schools under Phranakhon Si Ayutthaya City Municipality in accordance with the school administrators and teachers’ opinions are significantly different at the level of .05.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
คุณัญญู พระเนตร. (2548). การศึกษาสภาพหลักสูตรท้องถิ่นมรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตร
และการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ดวงกมล กิ่งจำปา. (2555). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมงานเทคโนโลยีทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.
ธนศักดิ์ เปาริก. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ปาจรี หาระสาร. (2548). การศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นิคม ชมพูหลง. (2545). ชุดฝึกอบรมด้วยตนเองการสร้างและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์
ผดุงเกียรติ ปานแดง. (2556). สภาพและปัญหาการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตาก เขต 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เพ็ญศรี จันปุ่ม. (2554). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
ยุพา กสิรักษ์. (2556, กรกฎาคม - ธันวาคม). บทบาทในการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 6 (2), 115 - 129.
สุระ วงศ์มา. (2548). การศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อนัญญา กรังพานิช. (2549). บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.