ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน

Main Article Content

นฤมล เจริญพรสกุล
ช่อเพชร เบ้าเงิน
สมบัติ คชสิทธิ์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และเพื่อสร้างรูปแบบพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ครูโรงเรียนเอกชน 420 คน จากโรงเรียน 38 โรง ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้รับเครื่องมือกลับคืนมาจากครูโรงเรียนเอกชน 420 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และการวิเคราะห์พหุระดับด้วยสมการถดถอย

             ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน 3. ความพึงพอใจในงานของครู4. ความพึงพอใจของผู้ปกครอง และ 5.ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประกอบด้วยปัจจัย 4 ด้านคือปัจจัยด้านโรงเรียนได้แก่ สภาพแวดล้อมในโรงเรียน และการบริหารงานในโรงเรียน ปัจจัยด้านผู้บริหารได้แก่ คุณลักษณะของผู้บริหาร พฤติกรรมการบริหาร และภาวะผู้นำของผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูได้แก่ คุณลักษณะของครู ความพึงพอใจในงานของครู พฤติกรรมการสอนของครู ปัจจัยด้านนักเรียนได้แก่ พฤติกรรมด้านการเรียนของนักเรียน การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง เจตคติของผู้เรียน  ผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้เสนอ การวิเคราะห์รูปแบบของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะบางประการ สำหรับการกำหนดนโยบาย การนำไปสู่การปฏิบัติ และการวิจัยต่อไปในอนาคต

 

              This research The purpose is to study the factors that influence the effectiveness of primary schools under the Office of Private Education. And to create a model of multi-level factors that influence the effectiveness of primary schools under the Office of Private Education. The sample Private school teachers from 420 schools, 38 hospitals, which is derived from the multi-stage random. The tools used in this research were questionnaires and quizzes were created. Tools have been recovered from the 420 private schools analyzed by percentage, mean, standard deviation. Distribution coefficient And multilevel regression analysis.

               The research found that The effectiveness of primary schools under the Office of Private Education. 1. Achievement 2. 3. Desirable student satisfaction in the work of four teachers. 5. The satisfaction of the parents and the community of learning. Factors affecting the effectiveness of primary schools under the Office of Private Education. The four factors are factors such schools. School environments And administration in schools Factors include executives Features Executive Behavior Management Leadership and Management Factors include teacher Teacher Feature The job satisfaction of teachers. Behavior of Teachers Factors include students Behavior of students To promote the learning of their parents. The attitude of the students The results of such research Researchers have proposed The analysis of the factors affecting the effectiveness of primary schools under the Office of Private Education. And provide some feedback. For policy makers Bringing into action And further research in the future.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

นฤมล เจริญพรสกุล

หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี

ช่อเพชร เบ้าเงิน

หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี

สมบัติ คชสิทธิ์

หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี   

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง 2552-2559. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2553

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2553.

จันทรานี สงวนนาม.(2545).ทฤษฎีแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา.กรุงเทพฯ:บุ๊คพอยท์.

ดวงสมร กลิ่นเจริญ.(2545). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชน

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์(2536) ความผูกพันต่อสถาบันของอาจารย์ในสาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2550).การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน

สมใจ ลักษณะ.(2542) .การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.

สัมฤทธิ์กางเพ็ง(2551) ปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน : การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของตัวแบบ.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยขอนแก่น

Cameron,K.s.& Ettington,D.R.(1978).The conceptual foundations of organizational culture. In Higher Education: Handbook of theory and Research.

Caldwell,B.J.and Spinks, J.M. (1990). The Self – Managing School : Administrative Science Quarterly. London :Tayor and Francis(Mimeographed)

David R. Cameron (1978) “The Expansion of the Public Economy: A Comparative Analysis.” American Political Science Review 72 (December): 1243–61 Cited 387 times

Edmonds, Ronald . Effective Schools for the Urban Poor Educational Leadership, v37 n1 p15-18,20-24 Oct 1979

Gretchen Rossman , H. D Corbett and W. A Firestone (1988) Change and Effectiveness in Schools: A Cultural Perspective University of Massachusetts - Amherst

G.E .Austin, D. Reynolds.1 (1990) School Organization. Human Resource. Management Review,167-178

Gordon, and Ross-Gordon (2001). On the nature of organizational effectiveness.

Gibson, L., Ivancevich, J. M., &Donnelly, J. H. (1979).Organiazation: behavior structure

Hoy, W. K., &Miskel, C. G. (1991). Educational administration: Theory, research and practice (4thed.). New York: McGraw-Hill.

Hoy , W.K. and Ferguson (1985) Theoretical Frame work and Exploration of Organizational Effectiveness in School. Educational Administration Quarterly, 21 (2) :121-122.

Hoy, W.K.andMiskel,C.G .(1991). Educational Administration : Theory - Research – Practice 4 th ed. Singapore : McGraw – Hill, Inc.Row.

J,Hillman,and P Mortimore (1995). Leader behavior and school effectiveness.Unpublished doctoral dissertion

Stedman Sammons. (1991). Introduction to organizational behavior (4thed.). New York : Harper Collins.

Sammons, Hillman and Mortimore( 2002) Effective E schools, equity and Teacher effectiveness: A review of litherature Pam Sammons and Linda Bakkum University of Oxford, Department of Education.

Gibson, Jame.L.,Ivancevich .J.M. and Donnelly, J.H (1979). Organizational :Behavior,Sstructure, Proces.s 3 rd ed. Dallas; Texas : Business Publications,Inc.

Glickman, Gordon and Ross-Gordon D. Glickman and others (2001) SuperVision and Instructional Leadership: A Developmental Approach (5th Edition).Better World Books.Mishawaka, IN, U.S.A.