การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ณพัฐอร บัวฉุน
สุพัตรา ถนอมวงษ์

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนวัดนาวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ใน การรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ชุด แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนด้วย แบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .22–.73 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .21–.71 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .80 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพชุดฝึก E1 /E2 และการทดสอบค่า t

               ผลการวิจัยพบว่า

                   1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 83.53/81.53 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้

                   2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านของนักเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

 

                The purposes of this research were to develop the Supplementary Drills on Force   and Movement  for Watnawong School Grade 7 and  to find out the efficiency of the drills based on the standardized efficiency criteria of 80/80 criteria, to compare the pupils’ learning achievement before and after using the . The sample of this study consisted of 42 pupils in grad  7, at Watnawong School Grade 7, under the jurisdiction of Pathum tani Educational Service Area Office 1 in the first semester of academic year 2015, gained by simple random sampling. The data collection instruments were 10 drills and 40 items of pre-test and post-test. The test difficulty indices ranged from .22-.73, the discrimination indices ranged from .21-.71, the reliability value was .80. The statistics employ for data analysis were the efficiency value of E1 /E2 , percentage, mean, standard deviation and t-test.

            The research findings were as follows:

                1. The supplementary drills were efficient since the criteria were found at 83.53/81.53  based on the standardized efficiency criteria of 80/80.

                2. The pupils’ learning achievement after using the packages was significantly higher than that before using them at .05 level.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ณพัฐอร บัวฉุน

 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี  

สุพัตรา ถนอมวงษ์

โรงเรียนวัดนาวง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

References

จิราภรณ์ สกุลเหลืองอร่าม. (2550). รายงานการทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะ วิชาภาษาไทย ท 31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การเขียนสะกดคำ. สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 1.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

นพคุณ แดงบุญ (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์. สารนิพนธ์กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นันทิพิทย์ รองเดช. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถทาง สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม ส่งเสริมพหุปัญญา. สารนิพนธ์กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรรณี ช เจนจิต. (2545). จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้ง ที่ 5 กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.

_______. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.

พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถม ศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

วรรณทิพา รอดแรงค้า.(2544). การสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นทักษะ กระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพ วิชาการ.

วรสุดา บุญยไวโรจน์. (2536). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ ในระดับประถมศึกษา เรื่องน่ารู้สำหรับ ครูคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

วาสนา ยิสุ. (2535). สมรรถภาพพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์สูง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมจิต สวธนไพบูลย์. การพัฒนากาสอนของครู วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและ การสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2535

สมนึก การเกษ. (2544). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะที่มีประสิทธิภาพวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. งานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะกรรมการวิจัยการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรมของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2544.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). มัธยมศึกษายุคใหม่สู่มาตรฐานสากล 2561. กรุงเทพฯ

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนว ทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับ มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2544). การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนการสร้างแบบฝึก เล่ม 2. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2548). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์