การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

ธนภร นิโรธร

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ และเสนอแนวทางการส่งเสริม      การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 วิธีการดำเนินการวิจัยโดย ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ขั้นที่ 2 เสนอแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์อาเซียนอำเภอ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา      

               ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยสู่ประชาคมอาเซียนในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย และ 2. แนวทางส่งเสริมการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ควรมีการประชุมวางแผนการดำเนินงาน การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยบูรณาการเกี่ยวกับอาเซียน ควรกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ควรกำหนดปฏิทินการนิเทศติดตามการทำงาน และควรกำกับติดตามการทำงานจากผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ควรมีการประชุมวางแผนการดำเนินงาน  ควรกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอ และด้านการวัดและประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย ควรมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ ควรมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ควรมีการประเมินผลตามมาตรฐานการเรียนรู้ระดับปฐมวัย และควรมีการนิเทศ ติดตามการทำงานจากผู้บริหารสถานศึกษา  

 


               The research aimed to investigate state and guidelines promoting on academic administration of early childhood about ASEAN community of school administrators under Phranakhon Si Ayutthaya Primary education area office 1. The procedures are divided into 2 steps: 1) studying state of early childhood academic administration. The sample group consisted of 127 school administrators. The instrument was a questionnaire. The data were analyzed by percentage, mean and standard deviation and 2. guidelines promoting on academic administration of early childhood. The sample group consisted of 9 school administrators in an ASEAN district center. The tool was an interview. The data were analyzed by the content analysis.

               The findings indicated that : 1. As a whole ,the conditions of academic administration of early childhood about ASEAN community of school administrators under Phranakhon Si Ayutthaya Primary  education  area office 1 was at a high levels ranking respectively from the highest to     the lowest levels : curriculum and curriculum management, experiential learning, and early childhood assessment and evaluation and 2. The guideline promoting for academic administration of early childhood: Curriculum: seminars, planning, curricula management of the school by ASEAN study, setting roles, planner monitoring and monitoring and checking of the administrators, experiential learning: seminars, setting roles, managed the environment in schools and budget for promotion the schools, early childhood assessment and evaluation, seminars, setting roles, education quality evaluation and monitoring and checking of the administrators.   

 


Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ธนภร นิโรธร

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  

References

จิราพร นราศรี. (2550). การศึกษาการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรียาภรณ์ วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงทพฯ : พิมพ์ดี.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2555). การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขึ้นพื้นฐาน เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. นนทบุรี : ผู้แต่ง.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : แม็ค.

รัศมี ตันเจริญ. (2542). การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542). การบริหาร : หลักการ ทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์..

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1. (2557). แผนปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2557. พระนครศรีอยุธยา : ผู้แต่ง.

อวยชัย เลิศยะโส. (2551). การดำเนินงานตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อรุณี หรดาล. (2555). การศึกษาปฐมวัยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : วิกฤตหรือโอกาส. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.