การจัดการสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ระพีพัฒน์ ศรีมาลา
พรสุข หุ่นนิรันดร์
ทรงพล ต่อนี

Abstract

            การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยผู้นำชุมชนในชุมชนเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ ผู้นำชุมชนทางด้านสุขภาพที่มาจาก 5 กลุ่ม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย 1. ผู้นำที่มาจากภาคการเมืองในท้องถิ่น 2. ผู้นำที่มาจากองค์กรชุมชนและประชาชน 3. ผู้นำที่มาจากผู้นำท้องถิ่น 4. ผู้นำที่มาจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ 5. ผู้นำศาสนา สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมต่างๆในชุมชน โดยใช้เทคนิคการประชุมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การฝึกอบรม การระดมความคิดเห็น การอภิปรายกลุ่ม และการบรรยาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การศึกษาบริบทชุมชน การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่ารูปการจัดการสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยผู้นำชุมชนมี 5 ขั้นตอนคือ  1. การศึกษาบริบทชุมชน  2. การบูรณาการผู้นำเข้ากับชุมชน  3. การวางแผนปฏิบัติการมีส่วนร่วม 4. การปฏิบัติตามแผนอย่างต่อเนื่อง  5. การประเมินผลการจัดการสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมบริบทชุมชนทางด้านสุขภาพของประชาชน

            ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนด้านสุขภาพที่สามารถจัดการสุขภาพชุมชนของตนเองได้อย่างมีส่วนร่วม เกิดการประสานการทำงานของผู้นำชุมชนด้านสุขภาพ ที่ประกอบด้วย ผู้นำท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้นำศาสนา เกิดความร่วมมือเป็นเครือข่ายสุขภาพและพัฒนาจนเกิดกลุ่มสุขภาพภาคประชาชนที่สามารถแสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ และจัดการสุขภาพชุมชนตนเองได้อย่างมีส่วนร่วม

 

                Participatory Action Research aims to develop a management model for community health with the participation of the community leaders in targeted communities. The samples  in the study consists of 20 people selected from the five groups of the community health leaders, that are 1. the leader of the local politics, 2. the leaders of community organizations and individuals, 3. the leader of the local leaders, 4. the leaders from government agencies in five areas, and 5. the religious leaders. Then, the participation process was created to generate the community activities. Participatory workshop, training, brainstorming, group discussion and lecture are focused in this study. In this research, the research tools are the urban context, depth interviews, and the participatory observation. The results from this study found that the health community involvement by community leaders has five phases: 1. the urban context                 2. integrating the importer community 3. planning to contribute 4. compliance. plans continued 5. evaluation of health management community involvement.

               The results of this research stimulate development of health community leaders’ potential  in order to manage their own community’s health, bring about coordinating works of health community leaders’ group consisting of community leaders, public health administrators, teachers, public health volunteers, and religious leaders, as well as a cooperation network of health teams and the development of a public health body in order to pursue  collaborations from various sectors and to be able to manage their own community’s health by participation  approach.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ระพีพัฒน์ ศรีมาลา

นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร   

พรสุข หุ่นนิรันดร์

ภาควิชาสุขศึกษา  คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร

ทรงพล ต่อนี

ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์  คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร

References

ประสิทธิ์ ทองอุ่นและคณะ. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

ปาริชาติ วลัยเสถียรและคณะ. (2552). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2541). พัฒนาการและบทเรียนการพัฒนาขององค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ. เชียงใหม่: ม.ป.พ.