การพัฒนาชุดกิจกรรมบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มที่ศึกษา คือ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 จำนวน 15 คน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ 1. ชุดกิจกรรมบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 78.57/75.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 และ 2. นักศึกษาครูที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 15.33
This research aimed to 1. develop and performance the efficiency of the integrated activity local wisdom package for promoting science process skills of preservice teachers in the Department of General Science; and 2. compare learning achievements in terms of science process skills of preservice teachers before and after using the integrated activity local wisdom package. The paticipants were 15 fourth-year preservice teachers in the Department of General Science, Faculty of Education, Kanchanaburi Rajabhat University, selected by a purposive sampling method. The Data were collected in the second semester of the 2016 academic year. The research instruments were 1. the integrated activity local wisdom package for promoting science process skills; and 2. the science process skill assessment. Statistics employed for data analysis, such as mean, standard deviation, percentage.
The results revealed that 1. the integrated activity local wisdom package for promoting science process skills got efficiency value E1/E2, 78.57/75.67 higher than criterion 75/75; and 2. preservice teachers, who learned with the integrated activity local wisdom package for promoting science process skills, had the post-learning achievements in terms of science process skills higher than pre-learning achievements and the percentage of progress was 15.33.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. (2555). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง 2555). เอกสารอัดสำเนา.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน (Developmental Testing of Media and Instructional Package), วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5 (1), หน้าแทรก 1-20.
ดวงเดือน พินสุวรรณ. (2557). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพและปริมณฑล. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 7 (1), 78-92.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ และคณะ. (2555). มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน, วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 6 (1), 30-50.
ประภากร แก้ววรรณา. (2554). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ประภาพร สุรินทร์. (2553). ผลการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 ทรงพลวิทยา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ลือชา ลดาชาติ และโชคชัย ยืนยง. (2558). สิ่งที่ครูวิทยาศาสตร์ไทยควรรู้จากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ, วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28 (2), 108-137.
ศิขริน ดอนขำไพร. (2551). ความเชื่อของครูวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้กับการปฏิบัติ การสอน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สาโรจน์ จ้องสละ. (2554). การใช้ชุดทดลองทัศนศาสตร์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเรื่องเลนส์และ ทัศนอุปกรณ์, Veridian E-Journal SU, 4 (1), 410-418.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). นโยบายส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
เอมอร วันเอก, นฤมล ยุตาคม และธีระศักดิ์ วีระภาสพงษ์. (2556). ความเข้าใจและการปฏิบัติการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิทยาศาสตร์, ว.เกษตรศาสตร์ (สังคม), 34 (3), 456-470.
Shive, L. E. (2002). Integrated Process Skills Test II. Retrieved March 18, 2015, from http://www.lifescied.org/content/suppl/2009/04/16/5.3. 218.DC1/3_TIPSII.pdf
The New Jersey Department of Education. (2006). New Jersey Assessment of Skills and Knowledge Science Grade 4: Assessment Samples. Retrieved March 18, 2015, from http://www.state.nj.us/education/assessment/es/sample/NJ06_G4Sci_sample.pdf