แนวทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ถือบัตรเครดิต ของธนาคารออมสิน เขตขอนแก่น 2
Main Article Content
Abstract
การค้นคว้าอิสระนี้ การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารออมสิน เขตขอนแก่น 2 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลวัยทำงานอายุระหว่าง 20-59 ปี จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อย ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันโดยใช้สภาวะการแข่งขัน(Five Forces Model) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis) และวิเคราะห์กลยุทธ์โดยวิธี ทาวน์ แมทริกซ์ พบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่มีบัตรเครดิตแล้วต้องการบัตรเครดิตเพื่อผ่อนสินค้า มีโอกาสในเลือกใช้หรือสมัครใช้บัตรเครดิต เมื่อมีการส่งเสริมการขาย ส่วนกลุ่มผู้บริโภคที่ยังไม่มีบัตรเครดิต ให้ความสำคัญกับสิทธิประโยชน์ในเรื่องฟรีค่าธรรมแรกเข้า และหรือรายปี การมีรูปแบบ และประเภทของบัตรเครดิตหลากหลาย และต้องการสิทธิประโยชน์ในการคุ้มครองอุบัติเหตุจากการเดินทาง ผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกธุรกิจบัตรเครดิต พบว่า ธนาคารออมสิน เขตขอนแก่น 2 ต้องเผชิญกับสภาวะการแข่งขันของตลาดคู่แข่งในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน และอำนาจการต่อรองของลูกค้าสูง ผลการศึกษานำมากำหนดแนวทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ถือบัตรเครดิต ได้ 6 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการแสวงหาผู้มุ่งหวัง 2. โครงการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพพนักงานธนาคาร 3. โครงการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อเฟสบุ๊ค (Face book) และโปรแกรมไลน์ (Line Application) 4. โครงการเชิญชวนสมัครใช้บัตรเครดิตออมสิน “ด้วยจดหมาย” 5. โครงการออกบูธ เดินตลาด และ 6. โครงการเพื่อนแนะนำเพื่อน หลังดำเนินการทั้ง 6 แล้ว คาดว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนผู้ถือบัตรเครดิตได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
The objective of this research was to study marketing strategic planning to increase number of GSB cardholders of the Government Savings Bank, Khon Kaen Region 2. Questionnaire was used as research tool. Sampling group included 400 people at working-age, 20-59 years. Data analysis included statistical analysis (frequency, percentage, mean), general environment analysis, five forces model for competitive environment analysis. SWOT analysis, and TOWS matrix for strategic analysis. The results showed that the group of consumers with credit card would apply for the card to pay for goods in installments and when there would be sales promotion, whereas the group of consumers with no credit card would focus on the benefit of free entry and annual fees, variety of the forms and types of credit card and the coverage of travel accident insurance. The results of the analysis of external factors of the business of credit card showed that the Government Savings Bank, Khon Kaen Region 2 had faced the competition in the market of the same industry and high bargaining power of the consumers. 6 projects were proposed, based on the study results, for strategic marketing planning to increase the number of cardholders, which included: 1. Looking for prospects project 2. Public relations project via social media, such as, Face book, Line 3. Training and skills development for bank employees 4. Invites credit savings project "with the letter" 5. Booth and tout project of Government Savings Bank, Khon Kaen - Region 2 and 6. Friends of Friends project. After implementation of these 6 projects, the number of cardholders should be increased as per the marketing target.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรรณลักษณ์ ศรีวิชัย. (2557). ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการบัตรเครดิตธนาคารออมสินของผู้ใช้บริการในเขตอำเภอเมืองชลบุรี. งานนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). การให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิต. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2559, จาก http://www2.bot.or.th/statistics/
ธนาคารออมสิน. (2559). รายงานประจำปี 2558-2559. กรุงเทพฯ: ธนาคารออมสิน.
ประดิษฐ์ เหล่าดี. (2557). แนวทางการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บัตรเครดิตธนาคารแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 2(2), 46-52.
มติชนออนไลน์. (2558). สมรภูมิแข่งขันธุรกิจบัตรเครดิต ถนนทุกสายมุ่งสู่ต่างจังหวัด. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2559, จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php? newsid=1426426169
รัสเซล วอลลิ่ง, เอดเวิร์ด. (2553). MBA 50 หลักบริหาร = 50 Management ideas. (ณัฐยา สินตระการผล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
วรมิดา ปองดี. (2554). การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารนครไทย สาขาถนนกลางเมือง. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). สมรภูมิการแข่งขันธุรกิจบัตรเครดิตปี 58 ดุเดือดขึ้นถนนทุกสายมุ่งสู่ต่างจังหวัดและกลุ่มรายได้สูง. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2559, จาก https://www.kasikornresearch.com/TH/K-EconAnalysis/Pages/
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2559). ระบบสถิติทางการทะเบียน. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2559, จาก http://203.157.116.10/miskkpho
สุพานี สฤษฎ์วินิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภัสรา อุยะพิดัง. (2555). การวางแผลกลยุทธ์เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการสินเชื่อรถแลกเงินของบมจ. ธนาคารธนไทย สาขาถนนหน้าเมือง จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัย บัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Kotler, Philip. (2003). Marketing Management . Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall.
Thompson, Arthur A., Jr, and Strickland III, A.J. (2003). Strategic Management: Concepts and Cases. 13th ed. New York: MaGraw-Hill.
Weihrich, Heinz, and Harold Koontz. (1993). Management : a global prespective. 10th ed. New York: McGraw-Hill, Inc.
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.