ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมการดำเนินโครงการวิจัยของ ผู้รับทุนสนับสนุนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการส่งเสริมการดำเนินโครงการวิจัยของผู้รับทุนสนับสนุนจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างของวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพคือ บุคลากรที่ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจำนวน 59 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย และกลุ่มตัวอย่างสำหรับสัมภาษณ์เชิงลึกโดยเลือกแบบเจาะจงจำนวน 4 คน ซึ่งเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับวิจัยเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แบบสรุปอุปนัยแล้วนำผลการวิเคราะห์ทั้ง 2 ส่วนมาสรุปร่วมกัน ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริหารจัดการเป็นปัญหาต่อการดำเนินโครงการวิจัยมากสุด นอกจากนี้ปัญหาด้านบุคคลกับประสบการณ์ในการทำวิจัยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับแนวทางการส่งเสริมการทำวิจัย ได้แก่ 1. การมีระบบพี่เลี้ยง 2. การมีเครือข่ายวิจัยภายในองค์กร เป็นต้น เพื่อให้บุคลากรได้มีแรงจูงใจต่อการทำวิจัย
The purposes of this research to study the problems, barrier and guidelines promotion to operation of research projects on funded by Thammasat University Hospital by mixed methods research design. The participants of quantitative and qualitative research method were personnel who funded from hospital, 59 participants for quantitative research method by sample random sampling and 4 participants for indepth interview by purposive sampling. Then research instruments were questionnaire and structured interview. For the data were analyzed by mean, standard deviation and the spearman’s rank correlation. Moreover, the data of qualitative research were analyzed by inductive analysis. Then the quantitative and qualitative analysis of this research were concluded results all together. As a result, The most problems to the operation of research projects were management. In addition, the problems about person and research experience were negative relationship significant. For the guidelines promotion to develop research project were mentor system and research connection within organization. So that personnel have motivation on conducting research.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
บุศรา สาระเกษ. (2555). แนวทางการพัฒนาระบบกลไก การบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปกรณ์ ปรียากร. (2555). การวางแผน การวิเคราะห์และแนวทางในการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ฝ่ายวางแผนและการคลัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2556). แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ 2556. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2557, สืบค้นจาก http://www2.tu.ac.th/images/stories/newsletters/plan_55-59.pdf
ภัทรวดี เทพพิทักษ์. (2550). การบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
รัชนี วัฒนภิรมย์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโครงการกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา). นครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุจิรา เจียมอมรรัตน์และอรชร อินทองปาน. (2555, มกราคม – เมษายน). การพัฒนาระบบและกลไกการส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 22(1): 68 – 75.
วราภรณ์ จิรชีพพัฒนา. (2551). การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). คำแถลงข่าว โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ, สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2557, สืบค้นจาก http://www.nru.ku.ac.th/KU_NRU_/?c=page&ppind=45
สำนักบริหารแผนและการคลัง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. (2556). แผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติปีงบประมาณ 2556 – 2559 ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ 2556. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2557, สืบค้นจาก http://www.hospital.tu.ac.th/doc/sections/lf-wijai/Strategic%20_Plan56-59.pdf
สุภาพร พงค์ภิญโญโอภาสและคณะ. (2556, เมษายน – มิถุนายน). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15(2): 67 - 79.
สินธะวา คามดิษฐ์. (2554). 2P4M: แนวทางการส่งเสริมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2557, สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th/ces/download.php?filename=1377588101.pdf
สิวิลักษณ์ กาญจนบัตร, สุมนมาลย์ มนัสศิริวิทยา, เฉลิมศักดิ์ สรีวรกุล, ประวิทย์ จิตโส, มนัส สุพร, กฤษณา กลิ่นสมิทธิ์ และ สาธิต สุจริตา. (2555, กันยายน – ธันวาคม). ทัศนคติ ความรู้ และประสบการณ์ เกี่ยวกับงานวิจัยของอาจารย์แพทย์ในคณะแพทยศาสตร์วิชรพยาบาล. วารสารวชิเวชสาร. 56(3): 193 – 202.
Mahmooda, Amir; Asghar, Faisal; & Naoreen Bushar. (2014). Success Factors on Research Projects at University’’ An Exploratory Study. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 116(2014): 2779 – 2783.