พฤติกรรมการบริโภคไอศกรีมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านไอศกรีม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคไอศกรีมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านไอศกรีมของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 400 คน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรมการรับประทานไอศกรีมที่ร้านตามแหล่งช้อปปิ้งต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์การบริโภคเพื่อการพักผ่อน ผ่อนคลาย หรือคลายร้อน ส่วนใหญ่ไปรับประทานไอศกรีมร่วมกับเพื่อนประมาณ 2 – 4 คน ช่วงเวลาที่ไปใช้บริการ คือ วันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านไอศกรีมของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า ปัจจัยด้านบุคลากรในการบริการเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด รองลงมา คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านกระบวนการเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สำคัญน้อยที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านไอศกรีมของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นอันดับแรกในแต่ละด้าน มีดังนี้ 1. ด้านบุคลากร ได้แก่ พนักงานยิ้มแย้มแจ่มใส ให้บริการที่ประทับใจ 2. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ มีที่จอดรถ 3. ด้านกายภาพ ได้แก่ บรรยากาศของร้านที่ให้ความรู้สึกปลอดโปร่ง ร้านดูสว่าง และเปิดรับแสงจากธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ 4. ด้านราคา ได้แก่ เมนูแสดงราคาค่าบริการชัดเจน 5. ด้านส่งเสริมการตลาด ได้แก่ ส่วนลดจากบัตรสมาชิก 6. ด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ไอศกรีมมีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ได้ตามมาตรฐาน อย. 7. ด้านกระบวนการ ได้แก่ การเสิร์ฟไอศกรีมให้ถึงโต๊ะ โดยพนักงานของร้าน
This study aimed to study the ice cream consumer behavior and factors affecting The decision to the ice-cream shop of khon kaen university student. The samples used in the study of 400 students. The data collected by questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, average, and standard deviation.
The results showed that the students have a habit of eating ice cream at the store on shopping destinations. The objectives were consumed for pleasure, relaxation or fulfill. Most ice cream to eat with friends about 2-4 people at a time to take a holiday and public holidays and the factors that affect the choice of ice cream shop. The people factor as the most important factor, followed by the place and process factor respectively. Factors affecting the choice of ice cream was the first university student in each are as follows: 1. people factor were staff beaming offers impressive, 2. place factor include a car park, 3. physical evident factor were atmosphere that feels bright and airy store exposure from fully natural, 4. prices factor include the menu were clear, 5. promotion factor includes a discount card membership, 6. products factor include ice cream quality, clean, safe according to FDA standards, and 7. process factor were staffs served ice cream to the table.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมอุตุนิยมวิทยา. (2557). ภูมิอากาศของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2559, จาก http://www.tmd.go.th/info/climate_of_thailand-2524-2553.pdf
จักรกฤษณ์ นาคประเสริฐ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านไอศกรีมพรีเมี่ยมในศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นว้าอิสระปริญญาปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ถนัดกิจ จันกิเสน. (2559). ตลาดไอศกรีม สมรภูมิรบนอกฐานทัพครั้งแรกของ “กูลิโกะ”. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2559, จาก http://marketeer.co.th/archives/75175
ธีรพงษ์จิรกิตติยากร. (2556). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านไอศกรีมโฮมเมดระดับพรีเมี่ยมHello Pla – Whale ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บริษัท อินมาร์เก็ตติ้งมาร์เก็ต จำกัด. (2559, 1-15 มิถุนายน). 6 เจเนอเรชั่นผู้กำหนดทิศทางตลาด. หนังสือพิมพ์ อินมาร์เกตติ้ง. หน้า 3.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอาหาร. (2558). รายงานตลาดไอศกรีมในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2559, จาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=76
สำนักทะเบียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2559). จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 แยกตามคณะ. ขอนแก่น: สำนักทะเบียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
DeVaney, S.A. (2015). Understanding the Millennial Generation.Journal of Financial Service Professionals, 69(6), 11-14.
Kotler, P., & Keller, K.L. (2015). Marketing Management. 15th ed. New York: Pearson.
Schiffman, L.G., & Kanuk, L.L. (2009). Consumer Behavior. 10th ed. Boston: Pearson Prentice Hall.
Sekaran, U., & Bougie, R. (2010). Research Methods for Business: A Skill Building Approach. 5th ed. New York: John Wiley & Sons.
Yamane, T. (1973).Statistics, an Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row.