การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพของโรงเรียนทุ่งทรายวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41

Main Article Content

ไพชยนต์ ศรีม่วง

Abstract

              การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพของโรงเรียนทุ่งทรายวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพของโรงเรียนทุ่งทรายวิทยา 2. พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพของโรงเรียนทุ่งทรายวิทยา 3. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพของโรงเรียนทุ่งทรายวิทยา 4. ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารจัดการระบบคุณภาพของโรงเรียนทุ่งทรายวิทยา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพ และความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพ ดังนี้ (1) สภาพการบริหารจัดการระบบคุณภาพ โรงเรียนมีการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ดำเนินงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีการดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศ มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีกระบวนการทำงานที่เอื้อต่อการดำเนินการที่บรรลุเป้าหมายได้ และมีผลการดำเนินงานที่เกิดจากภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ความต้องการเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบคุณภาพในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ การนำองค์กร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และการมุ่งเน้นบุคลากร 2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพ มีองค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ (1) การนำองค์กร (2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (3) การมุ่งเน้นนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (4) การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (5) การมุ่งเน้นบุคลากร (6)การจัดการกระบวนการ และ(7) ผลลัพธ์ และผลการประเมินรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก 4. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารจัดการระบบคุณภาพในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก

 

               According to the development of the quality system management model of Thung Sai Witthaya School, Secondary Educational Service Area Office 41. The purposes of this research were to study 1. to study the actual situations and requirements of the development of the educational quality management model for Thung Sai Witthaya School. 2. to develop the educational quality management model for Thung Sai Witthaya School 3. to study using the quality management model for the Thung Sai Witthaya School. 4. to evaluate satisfaction of the educational quality management model for Thung Sai Witthaya School. The researcher found 1. the condition and need for the development of the quality system management model as follows: (1) As for the quality system management condition, Thung Sai Witthaya School efficiently improved the operation steps. It prepared the information on students and stakeholders.  It managed the information. It developed teachers and educational staffs. Its operation process brought about successful implementation. Its performance stemmed from leadership of school administrators.  (2) The need for the quality system management had considerable mean. The issues on organizational leading, strategic planning, and staffs emphasis had the highest mean. 2. According to the development results of the quality system management model, there were seven elements as follows: (1) organizational leading, (2) strategic planning, (3) students and stakeholders emphasis, (4) measurement, analysis, and management of knowledge, (5) staffs emphasis, (6) process management, and (7) outcome. According to the evaluation results, the quality system management model had considerable mean. 3. According to the tryout results, there was considerable satisfaction with the quality system management model. 4. According to the research results, the satisfaction with the quality system management had considerable mean.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ไพชยนต์ ศรีม่วง

โรงเรียนทุ่งทรายวิทยา อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร  

References

กีรติ ยศยิ่งยง. (2550). การจัดการความรู้ในองค์การและกรณีศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้.

จิตราภา กุณฑลบุตร. (2550). การวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมมิก จำกัด.

ชาตรี โพธิกุล. (2552). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:

วิชั่นพริ้นท์แอนด์มีเดีย.

ประทีป ศรีเพชรเจริญ. (2558). การศึกษาการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพเพื่อมุ่งสู่ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอ่างทอง, วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10 (3), 83-91.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2548). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิพร รินทะ. (2554). การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล: กรณีศึกษาโรงเรียนเมืองคง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. การศึกษาอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการบริหารจัดการระบบคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทยจากัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

อนันต์ เตียวต๋อย. (2551). รูปแบบการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.