ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทย ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

Main Article Content

สมพิศ กองอังกาบ

Abstract

               ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. พฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทย 2. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการใช้บริการนวดแผนไทย  3. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการใช้บริการนวดแผนไทย และ 4. ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการ

                การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัย 2 ขั้นตอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีคอแครน และเก็บตัวอย่างแบบสะดวก  ขั้นตอนแรก เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์จากผู้ใช้บริการจำนวน 5 คน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำแบบสอบถาม ขั้นตอนที่สองเก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ใช้บริการน็ปู จำนวน 400 คน หลังจากนั้นนำคำสัมภาษณ์จากขั้นตอนแรกมาวิเคราะห์เนื้อหา และแบบสอบถามจากขั้นตอนสองวิเคราะห์โดยใช้ค่าทางสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ค่าเอฟ ไคว์แสควร์ และสหสัมพันธ์สเปียร์แมน

                 ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทยส่วนใหญ่มาใช้บริการวันเสาร์เวลาที่มาใช้ 14.31-17.00 น. ครั้งละ 2 ชั่วโมง เคยใช้บริการมาแล้ว 5 ครั้งขึ้นไป ซึ่งใช้บริการมานานน้อยกว่า 6 เดือน        โดยมากับเพื่อน และเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 300-600 บาท 2. ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุมีผลต่อความถี่และระยะเวลา รายได้มีผลต่อระยะเวลาและค่าใช้จ่าย และอาชีพมีผลต่อความถี่ ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย 3. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการใช้บริการ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์มีผลต่อการใช้บริการในระดับมากที่สุด ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย  ด้านส่งเสริมการตลาด  ด้านบุคลากร ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและด้านกระบวนการ มีผลต่อการใช้บริการในระดับมาก 4. ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการ พบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับความถี่ในการใช้บริการและระยะเวลาที่ใช้บริการ รายได้มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อความถี่ ระยะเวลาและค่าใช้จ่าย ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีผลต่อระยะเวลาและค่าใช้จ่าย ด้านกระบวนการมีความสัมพันธ์กับความถี่และระยะเวลาที่ใช้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคามีความสัมพันธ์กับความถี่ในการใช้บริการ ด้านบุคลากรมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

                    The objectives of this study were to study 1. the consumer behavior of Thai massage service 2. personal factors affecting the usage of Thai massage 3. the marketing mix factors affecting the consumer behavior of Thai massage service 4. to  personal factors and marketing mix factors correlating with the consumer behavior.

                    This study had a 2 steps, and population was Thai people who use Thai massage service in Wat Phra Chattupon Wimon Mangkalaram Ratchaworra mahawihan with unknown number. Cochran convenience sampling was used. First step was in-depth interview with 5 customers and used content analysis for questionnaire development. Second step, data collection was collected from 400 customers of Thai massage service. The research instruments was questionnaire from first step. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, chi-square and spearman correlation.

                    The results of the research were as follows: 1. most of the customers visited on Saturday around 14.31-17.00 p.m. spent time 2 hours, used the services more than 5 times within 6 months, visited with friends and spent around 300-600 baht 2. personal factors; ages affecting the frequency and time, income affecting the time and expenses, occupation affecting the frequency, time and expense 3) The marketing mix factors affecting on Thai massage found that product was at highest level. price, place, promotion, people, physical evidence and process were at high level. 4) Personal factors correlating with the consumer behavior found that age correlated with frequency and times. Income correlated with time and expense. Marketing mix factors correlate with the consumer behavior found that place and promotion correlated with frequency, time and expense. Physical evidence correlated with time and expense. Process correlated with time. Product and Price correlated with frequency. People also correlated with time with 0.05 statistical significance.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

สมพิศ กองอังกาบ

นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด)  สาขาวิชาวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  จังหวัดนนทบุรี      

References

กรทิพย์ จันทร์แจ้ง. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกร้านนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัย ราชภัฎวไลยอลงกรณ์, ปทุมธานี.

เกวลิน สุทนต์. (2554). การศึกษากลยุทธ์การตลาดและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของสถานประกอบการนวดแผนไทย ในเขตเกาะเมืองประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

คมชัดลึก (2555). กระหึ่มโลก! นวดไทยทำลายสถิติ สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net/

ทศพล คนคิด. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านนวดแผนไทยของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

นัฐวดี แดงอินทร์. (2555). ปัจจัยทางการตลาด และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการใช้บริการธุรกิจนวดแผนไทยในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, ยะลา.

ภัทรา แสงสุรจันทรกุล. (2557). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการใช้บริการนวดเพื่อสุขภาพ ในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์(รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.

ภาวดล นววรพงษ์. (2552). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการนวดแผนโบราณในวัดโพธิ์ เขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.

โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์. (2558). โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ และการนวดแผนโบราณ สืบค้นจาก http://www.watpho.com/thai_traditional_medical_school.php

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่ฉบับปรับปรุงปี 2552. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเอาเชียนปี 55: สร้างรายได้สะพัดในไทยกว่า 25,000 ล้านบาท สืบค้นจาก http://www.thai-aec.com/616

สุชาดา กิตินาม. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสปา แขวงทุ่งสองห้อง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.

อาภรณ์ ปัตะเวสัง. (2557). ความพึงพอใจต่อการใช้บริการนวดแผนไทยในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Cochran, W.G. (1973). Sampling Techniques, 2nd., New York: John Wiley and Son, Inc.

Kotler, P. (2003). Marketing management. Mew Jersey: Prentic Hall.

Kotlet, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation and control.9th ed. New Jersey: Asimmon & Schuster.