การพัฒนาทุนทางสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับทุนทางสังคมที่มีอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีจากตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสำรวจ รวบรวม และจัดทำฐานข้อมูลทุนทางสังคมที่มีอยู่ในพื้นที่ และมุ่งศึกษาการพัฒนาทุนทางสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า
แนวทางการพัฒนาของตนเองเป็นเงื่อนไขสำคัญของการดำรงอยู่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ คือ 1. การสร้างบรรทัดฐานแบบพึ่งพาอาศัยกันที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานและกฎเกณฑ์กติกาของความสัมพันธ์แบบเท่าเทียมกัน พร้อมทั้งพัฒนากระบวนการบังคับทางสังคมและการขัดเกลาทางสังคม
2. การสร้างเครือข่ายที่ทำให้บุคคลมาสัมพันธ์กันในเรื่องเกี่ยวกับชุมชน รวมทั้งปลูกฝังให้เกิดจิตสำนึกสาธารณะและความไว้วางใจกันจนในที่สุดสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นชุมชนแบบประชาสังคมและเป็นชุมชนที่พัฒนาอย่างยั่งยืน 3. การสร้างเงื่อนไขสำคัญของการดำรงอยู่ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยและความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยม คือศักยภาพของชุมชนในการจัดระเบียบทางสังคมใหม่ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ 

 

                This research the study focused on the data were collected by interviews, insights about social capital that exists in the province of Pathum Thani Province, representatives from various organizations. Related to investigate and compile a database of social capital that exists in the area, and The Development of Social Capital according to the Sustainable Development of Sufficiency Economy. There are three key criteria, namely: 1. creating a dependence criterion is based on the rules and equal relationship. The development of a social process and socialization, 2. creating a network that makes people relate to each other with regard to the community. Including fostering public awareness and trust that eventually can develop into a community, civil society and community sustainability, 3. to create the conditions of existence in the context of changes to. modern and capitalist relations of production. The potential of the community to organize a new social changes affecting the world. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร

อาจารย์ประจำ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

References

โกวิทย์ พวงงาม. 2553. การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

จามะรี เชียงทอง. 2543. วิวัฒนาการของประชาสังคมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

จินตนา สุจจานันท์. 2549. การศึกษาและการพัฒนาชุมชน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. 2543. การพัฒนารูปแบบการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร. 2558. การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศกลุ่มนอร์ดิก. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2558).

วชิรวัชร งามละม่อม. 2559. ประเทศไทยกับแนวทางการพัฒนาในประชาคมอาเซียน. การประชุมทางวิชาการครั้งที่ 54 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สัญญา เคณาภูมิ. 2552. “ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง”. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 4 (2) กรกฎาคม – ธันวาคม 2552.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. 2536. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีกับงานพัฒนา. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2541. แนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2548. ทุนทางสังคมกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน: ร่วมเรียนรู้ ร่วมขับเคลื่อนร่วมพัฒนา. สรุปผลการสัมมนา จัดโดยสำนักพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร.

อมรา พงศาพิชญ์. 2543. ประชาสังคมและทุนทางสังคมกับงานวิจัยของสถาบัน. ค้นวันที่ 23 มกราคม 2554 จาก http://www.cusri.chula.ac.th/action/pdfs/action005.pdf

อานันท์ กาญจนพันธุ์. 2541. การระดมทุนเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

อินทร พิชิตตานนท์และเตชพล ฐิตยารักษ์. 2547. ชุมชนเข้มแข็ง: หนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสาร เศรษฐกิจและสังคม 2547: 3 (มกราคม – กันยายน): 35.

เอนก นาคะบุตร. 2545. ทุนทางสังคมและประชาสังคมในเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักกองทุนเพื่อสังคม

ธนาคารออมสิน.

William, E. 1976. Electoral Participation in a Low Stimulus Election. Rural Development. 4(1): 111 – 124.

William, E. 1976. Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta: Georgia State University.