เล่ะฮ์โหม่น : การรำ พิธีกรรม จารีต ในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
Abstract
เล่ะฮ์โหม่นหรือที่เรียกว่ารำมอญ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรำมอญในจังหวัดปทุมธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จากการสำรวจภาคสนามได้คณะรำมอญในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 12 คณะ จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่ายแบบไม่เจาะจงด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวน 3 คณะ เพื่อศึกษาในประเด็นการถ่ายทอดกระบวนการรำและทั้ง 12 คณะ จะศึกษาเกี่ยวกับพิธีกรรมจารีตของรำมอญโดยทั้งสองประเด็นจะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบแยกเป็นหมวดหมู่ จากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ใช้แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสำภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกและตรวจสอบโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า แล้วนำเสนอผลการวิจัยที่ได้มาพรรณนาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการรำมอญในจังหวัดปทุมธานี มีกระบวนการรำทั้งหมด 12-13 เพลงรำมอญ ซึ่งรำมอญแต่ละคณะมีกระบวนการรำที่มีความเหมือนและแตกต่างกัน เช่น ในบางกรณีก็จะมีการสลับท่ารำกันในบางเพลง ทั้งนี้ผู้วิจัยสันนาฐานว่าน่าจะขึ้นอยู่กับผู้ที่ถ่ายทอดและผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดกระบวนการรำ สำหรับทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการรำนั้น ปัจจุบันจะเรียกชื่อเป็นเป็นลำดับหมายเลข เช่น เพลงที่ 1, 2, 3 เป็นเพราะชื่อเพลงรำมอญเดิมเป็นภาษามอญจึงยากแก่การจำ แต่มีบางเพลงที่ใช้รำเป็นประจำจะเรียกได้ เช่น เพลงทะแย ส่วนพิธีกรรม พบว่า ก่อนแสดงจะมีการบูชาพ่อแก่ (ฤษี) บรมครูทางด้านศิลปะการแสดงและครูมอญ เครื่องบูชาครู ได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน เงินกำนล เหล้า บุหรี่ น้ำ จัดใส่พาน เพื่อขอความเป็นสิริมงคล ส่วนจารีตพบว่า พอเริ่มต้นแสดง ถ้าเป็นงานศพ ผู้แสดงจะต้อง กราบพระ 3 ครั้ง ไหว้ศพ 1 ครั้ง ไหว้ดนตรี 1 ครั้ง และไหว้คนดู 1 ครั้ง แล้วเริ่มแสดง พอแสดงเสร็จก็จะไหว้ศพอีก 1 ครั้ง ถ้าเป็นงานอื่นๆ จะไหว้คนดูก่อนและหลังการแสดง นอกจากนี้จะให้ความสำคัญโดยการเคารพผู้ที่อาวุโส เช่น ครูผู้สอน หัวหน้าคณะ รุ่นพี่ และในแต่ละปีจะมีพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ ดนตรี เพื่อความเป็นสิริมงคล รำลึกถึงครู อาจารย์ เทพเทวดาและขอขมาในสิ่งที่ได้ประพฤติปฏิบัติผิดพลาดในครั้งที่ผ่านมา
“Leh Mon” or Mon Dance, this research aimed to study Mon Dance with qualitative research in Pathum Thani Province. The population and samplings were 12 groups of Mon Dance which three groups of them choosen to study dancing processes. Then the 12 groups of Mon Dance studied in rituals and traditions. Data were validated using a triangulation techniques; document, observation and interview. Data were analyzed by descriptive purposes.
The results found that Mon dance in Pathum Thani Province had 12-13 dancing processes which were similar or different. In present, the name of Mon Dance’s song called the sequence of numbers such as the first song, the second song, the third song etc. Because the original was, Mon language difficult to remember. But some Mon Dance’s songs called the original such as “Ta Yae”. The rituals found that, before the performance, the performer respected the spirit of the great teacher called “Por Khaa” with flowers, candle, incense, whiskey, cigarette, some money and water putting on “Phan” in order to the achievement. For the traditions found that, before the show (funeral ceremony), the dancer should respect three times to the monk, one time to the death, one time to the musical instrument and one time to the audience then starting. After performance the dancers also respected to the death. For the other ceremonies, the dancers should respect the audience before and after performance. In addition, they have the ceremony for respect their spirit teachers every year.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรพร ตราโมท. (2541). มอญรำ (ปัวฮะเปิ้น) : ศิลปะคุณภาพของมอญ. จุลสารไทยคดีศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันไทคดีศึกษา, 72.
ทรงคุณ จันทจร, (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรมขั้นสูง. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
นิยพรรณ วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิศาล บุญผูก. (2551). “ประวัติมอญเมืองปทุมธานี ” อนุสรณ์งานพระราชทานเพลงศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี ม.ว.ม., ป.ช. จำนวนเล่ม 5,000 เล่ม. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็คโปรโมชั่น
แอนด์ แอ็ดเวอร์ไทซซิ่ง จำกัด, 165-169.
รจนา สุนทรานนท์. (2548). การอนุรักษ์การแสดงพื้นบ้าน จังหวัดปทุมธานี. คณะนาฏศิลป์และ ดุริยางค์ : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
วีรวัฒน์ วงศ์ศุปไทย. (2551). “ประวัติศาสตร์และถิ่นฐานบ้านเรือนชาวสามโคก.” อนุสรณ์งานพระราชทานเพลง ศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี ม.ว.ม., ป.ช. จำนวนเล่ม 5,000 เล่ม. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็คโปรโมชั่น แอนด์ แอ็ดเวอร์ไทซซิ่ง จำกัด, 158.
สุขสันต์ พ่วงกลัด (2539). การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยในการถ่ายทอดการบรรเลงซอสามสาย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์ บรรจุน. (2551). “ประวัติศาสตร์และถิ่นฐานชาวมอญสมุทรสาคร” อนุสรณ์งานพระราชทานเพลงศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี ม.ว.ม., ป.ช. จำนวนเล่ม 5,000 เล่ม. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็คโปรโมชั่น แอนด์ แอ็ดเวอร์ไทซซิ่ง จำกัด, 126.
อมรา พงศาพิชญ์ (2537). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.