การศึกษาการพัฒนาทักษะด้านการร้องเพลงของศิลปินในค่ายโมโนมิวสิค
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากระบวนการจัดการเรียนการสอนการร้องเพลงของค่ายโมโน มิวสิค และ 2. ศึกษากระบวนการพัฒนาทักษะด้านการร้องเพลงของศิลปินในค่ายโมโนมิวสิค โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งหมด 17 ท่าน โดยแบ่งเป็นผู้บริหารค่ายโมโนมิวสิค ครูผู้สอนร้องเพลงในค่ายโมโนมิวสิค และศิลปินในค่ายโมโนมิวสิค เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ในลักษณะการสนทนาในประเด็นต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการจัดการเรียนการสอนร้องเพลงของค่ายโมโนมิวสิคนั้นประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และ 4) สิ่งอำนวยความสะดวก
2. กระบวนการพัฒนาทักษะด้านการร้องเพลงของศิลปินในค่ายโมโนมิวสิคประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การพัฒนาทักษะจากตำราและทฤษฎี การพัฒนาทักษะจากประสบการณ์ของครูผู้สอน และการพัฒนาทักษะโดยใช้กิจกรรมเสริม
The purposes of this research were 1. to study the learning management of singing lessons of Mono Music and 2. to study the processes of singing skill development of the artists under Mono Music. The participants included seventeen individuals – executives, singing teachers, and artists. Data were collected using interview, and were descriptively analyzed.
The findings revealed as follows.
1. The learning management of singing lessons of Mono Music involved four factors, i.e., 1) teachers 2) students 3) curriculum and instruction, and 4) facilities.
2. The processes of singing skill development of the artists under Mono Music delineated three parts, i.e., skill development based on textbooks and theories, skill development based on teachers’ experiences, and skill development based on extra-curricular activities.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ชีพจรโลกธุรกิจ.(2556) แกรมมี่” โกยรายได้ 2,710 ล้านบาท.1ตุลาคม 2556. http://www.naewna.com/business/64485
ฐีระ ประวาลพฤกษ์. (2538). การพัฒนาบุคลากรและการฝึกอบรม. ตำราเอกสารวิชาการฉบับที่ 83.กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2538.
ดวงใจ อมาตยกุล. (2545). เอกสารคำสอนวิชาการสอนขับร้องภาควิชาดุริยางค์ศิลป์ คณะศิลปะศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไทยรัฐออนไลน์. (2556). อาร์เอสกำไรพุงปลิ้น 110 ล้านลั่นเงินแข็งแกร่งธุรกิจ, 12 ตุลาคม 2556. http://www.thairath.co.th/content/362367
บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก
เอกวินิต พรมรักษา.(2555) แนวคิดและทฤษฎี Edward Damming, 7 ตุลาคม 2558. http://promrucsa-dba04.blogspot.com/2012/10/pdca.html
Dreher, George F. and Thomas W. Dougherty. (2001). Haman Resource Strategy: A Behavioral Perspective for the General Manager. New York: McGraw-Hill.