ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ในสาขาเทคโนโลยีการจัดการเกษตร
Main Article Content
Abstract
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในสาขาเทคโนโลยีการจัดการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาเทคโนโลยีการเกษตร สุ่มเก็บข้อมูลจากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสาขาเกษตรศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภูมิศาสตร์ภาคกลางและผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาเกษตรศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ จำนวน 70 ชุด และในส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของสถานประกอบการ ส่งแบบสอบถามไปสถานประกอบการ ที่ใช้บัณฑิตในสาขาเกษตรศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องในจังหวัดปทุมธานี อยุธยา และสระบุรีจำนวน 92 ชุด ผลการวิจัยพบว่า
ในส่วนที่ 1 ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาเทคโนโลยีการเกษตร สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.86 และเป็นเพศชาย ร้อยละ 47.14 โดยมากมีอายุ 20-30 ปี ร้อยละ 70.00 จากผู้ที่ต้องการศึกษาต่อพบว่า ต้องการศึกษาต่อในแขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ร้อยละ 30.43 สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการเกษตร แขนงวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร ร้อยละ 26.09 และ ต้องการศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการเกษตร แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ร้อยละ 8.70 เวลาที่ต้องการเรียนในระดับปริญญาโท ส่วนใหญ่ต้องการเรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ ร้อยละ 60.87 และต้องการเรียนในหลักสูตรที่มีการทำวิทยานิพนธ์ ร้อยละ 56.52 บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับมาก ได้แก่ ตนเอง รองลงมา ได้แก่ บิดา มารดา/ผู้ปกครอง ส่วนปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการศึกษาต่อในระดับมาก ได้แก่ คุณวุฒิของอาจารย์ประจำหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการศึกษาตลอดหลักสูตร และความสะดวกในการเดินทางมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับมาก รองลงมาในระดับปานกลางได้แก่ ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย การประชาสัมพันธ์ของหลักสูตร และการเป็นศิษย์เก่าของสถาบันที่จะศึกษาต่อ
ในส่วนที่ 2 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของสถานประกอบการผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นส่วนราชการ ร้อยละ 78.26 สถานประกอบการส่วนใหญ่ต้องการให้บุคลากรในหน่วยงานศึกษาต่อร้อยละ 66.30 และในจำนวนนี้คิดเป็นศึกษาต่อในแขนงเทคโนโลยีการจัดการผลิตพืช ร้อยละ 29.51 แขนงเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร ร้อยละ 29.51 และศึกษาต่อในแขนงเทคโนโลยีการจัดการผลิตสัตว์ ร้อยละ14.75 สำหรับคุณลักษณะบัณฑิตที่สถานประกอบการต้องการในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรมและด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
The objectives of this study were to investigate needs for further study in Master degree and preferred or expected qualifications of graduates in agricultural management technology curriculum, faculty of agricultural technology, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. Using questionnaires as data collecting tool, the 1st questionnaires (70 copies) containing questions regarding needs for study in Master degree in agricultural management technology were sent to current senior year students as well as graduates in agriculture and related subjects in Thailand central area focused only on Rajabhat Universities. The 2nd questionnaires (92 copies) regarding expected graduate qualifications were sent to graduate hirers and users in Pathumthani, Ayutthaya, and Saraburi provinces. Results indicated the followings:
The 1st questionnaires, demographic results showed that status of questionnaires answerers was female (52.86%) and male (47.14%) aged between 20-30 years (70.00%) have their needs to study further in agricultural management technology specialized in plant production management technology (30.43 %) food science and technology management technology (26.09%) and animal production management technology (8.70 %) on saturday/sunday (60.87%). Program with thesis requirement was preferred (56.52%). A decision making were influenced by answerer themselves as well as their parents with the following environmental factors with varying degree. Faculty members qualifications, cost of study, and transportation convenience had high influence in making decisions. University reputation, advertisement about curriculum, and university alumni were factors moderately influenced a study decision-making process.
The 2nd questionnaires, answerers were mostly governmental agencies (78.26%) which support their staff members for their continuing education (66.30%) in plant production management technology (29.51%) food science and technology management technology (29.51%) and animal production management technology (14.75%). The most preferred or expected qualifications from graduates were ethical and morals and personal relationships and responsibilities issues.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กองแผนงาน. 2554. รายงานความพึงพอใจของนายจ้าง/ผู้ใช้บัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นปีการศึกษา 2553. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เกศรินทร์ เพ็ชรรัตน์ และคณะ. 2554. รายงานการวิจัยคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. 2553. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2554. รายงานสรุปองค์ความรู้โครงการประชุมเสวนา
“เรื่องการเตรียมความพร้อมผลิตบัณฑิตไทยในศตวรรษที่ 21”. วันที่ 29 กรกฎาคม 2554ณ โรงแรมรามาการ์เดน หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2549. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554). สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุมิตร สุวรรณ และจันทิมา จำนงนารถ. 2554. ความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันตก. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน