การศึกษาพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้วยรักเมตตาและการมีจิตวิญญาณในการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข ตามการรับรู้ของบุคลากรที่ผ่านและไม่ผ่านการอบรมงานอภิบาลกรณีศึกษาโรงพยาบาลเซนต์เมรี่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Qoantitaive Reserecrch )โดยมีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการรับรู้พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้วยรัก เมตตาของบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ 2. ศึกษาการรับรู้การมีจิตวิญญาณในการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุขบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ 3. เปรียบเทียบคะแนนการรับรู้พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้วยรัก เมตตาของบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ หลังผ่านการอบรมงานอภิบาลและไม่เคยผ่านการอบรม 4. เปรียบเทียบคะแนนการรับรู้การมีจิตวิญาณในการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุขของบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ หลังผ่านการอบรมงานอภิบาลและไม่เคยผ่านการอบรม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น บุคลาการในตำแหน่งพยาบาล และผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ปี 2547 ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามโดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test แบบ Independent
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้วยความรักเมตตา และมีจิตวิญญาณ ในการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข ตามการรับรู้ของบุคลากร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ที่มีการอบรมงานอภิบาลต่างกัน มีจิตวิญญาณในการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุขตามการรับรู้ ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเสียสละแตกต่างกัน โดยบุคลากรที่ผ่านการอบรมมีคะแนนสูงกว่าบุคลากรที่ไม่ผ่านการอบรม
This is a quantitative research which was objected to explore 1) the behavior of patient care with compassion and love of St. Mary Hospital personnel, 2) to study the perception of spiritual of the personnel’s creative and happy living at St. Mary Hospital, 3) to compare the perception of St. Mary Hospital experienced or inexperienced personnel in clinical pastoral care training on the behavior of patient care with compassion and love, and 4) to compare the perception of St. Mary experienced or inexperienced personnel in clinical pastoral care training on a spiritual life of creative and happy living. 144 samples in this study were nurses and nurse assistants working in the inpatient and outpatient department in 2004. The tools used for data collection was a questionnaire with the reliability 0.83 The statistics used for data analysis were mean, percentage, standard deviation, and Independent t-test.
The study results showed that the level of the perceived behavior on patient care with compassion and love and creative and happy living of the personnel was high, either in individual aspect or in the overall. St. Mary's Hospital personnel who were differently trained did not differ in terms of perceiving the spirit of living creatively and happily in the overall with insignificant differences at 0.05 statistic significance. When considering each aspect of self-sacrifice, the trained personnel showed higher scores than the non-trained personnel.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
แผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ .(2556). โครงการตามแผนปฏิบัติการโรงพยาบาลเซนต์เมรี่จังหวัดนครราชสีมา ประจำปี 2556. นครราชสีมา : โรงพยาบาลเซนต์เมรี่.
รุ่งนภา ชั้นแจ่ม. (2534). ผลการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมต่อพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมและสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในทีมสุขภาพของพยาบาล. กรุงเทพมหานคร. ฐาณข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.