ปัจจัยทางการตลาดกับการเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของชาวพม่าในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบข้อมูลลักษณะทางประชากรของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชาวพม่าในประเทศไทย 2) เพื่อทราบข้อมูลพฤติกรรมการเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของชาวพม่าในประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลกับการเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของชาวพม่าในประเทศไทย เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชาวพม่าจำนวน 400 คน ผลงานวิจัยพบว่า พบว่ากลุ่มตัวอย่างชาวพม่าส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย มีอายุระหว่าง 15-25 ปี โดยมีส่วนใหญ่สมรสแล้ว ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีการศึกษาระดับมัธยม มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 84 เคยซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรับประทาน โดยยี่ห้อที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับชาวพม่าในประเทศไทยคือ ควิก รองลงมาคือ มาม่า ไวไว และ ยำยำ ตามลำดับ โดยเหตุผลในการซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพราะความประหยัด รสชาติอร่อยและหลากหลาย สื่อที่ทำให้รู้จักบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสูงสุดคือโทรทัศน์ รองลงมาคือ ป้ายโฆษณา โดยชาวพม่าส่วนใหญ่ร้อยละ 35 ซึ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากร้านขายของชำ รองลงมาคือ ซุปเปอร์มาเก็ต ร้อยละ 23.8 ด้านปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของชาวพม่าในประเทศไทยคือ ชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์ 4.03 รองลงมาคือ การวางจำหน่ายในร้านค้าทั่วไป 3.93 เปรียบเทียบโดยลักษณะประชากร พบว่า เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา แตกต่างกัน ไม่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยการตลาดแตกต่างกัน ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในขณะที่ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This research aims to 1) To study the demographic of Burmese instant noodle consumer in Thailand 2) To explore instant noodle purchasing behavior of Burmese consumers 3) To seek for knowledge on marketing factors affecting decision to purchase instant noodle of Burmese in Thailand. The sample group is 400 Burmese in Thailand.
The research findings indicated that majority of samples were male, ranged in age from 15-25 years, single, making livelihood doing labor work, finished Secondary School, and earned monthly average income 10,001-15,000 Baht. The most popular instant noodle purchased is Quick. Majority bought from grocery and have instant noodle to save and to taste. As for marketing factors impacting decision to buy toothpaste, taking demographic data into account, the outcomes revealed that the differences in gender, marital status, and education levels had no influenced on marketing factors when buyer selecting instant noodle. While age, occupations, and monthly average income had influenced significantly at 0.05
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
มนัส แก้ววิมล และคณะ (2551). การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดซองสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
วรวีร์ แต้มคงคา (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตราไวไวในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิลาสินี ยนต์วิกัย. (2559). ปัจจัยทางการตลาดกับการเลือกซื้ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันของชาวพม่าในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1
สุจิตรา จันทนา (2551). การเลือกบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดปทุมธานี. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
สุนทรศักด์ นววิจิตรกุล (2552). การวัดตราคุณค่าตราสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตราไวไว. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อภิชาต รังสิมันตุ์วงศ์ (2552). การวิเคราะห์อุปสงค์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของผู้บริโภคในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช