ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กับความรู้เรื่องโรคเอดส์ของผู้รับบริการสาธารณสุขในอำเภอเมืองปทุมธานี

Main Article Content

มณินทรา สุขประเสริฐ
พรสิทธิ์ พัฒนานุรักษ์
ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) ความรู้เรื่องโรคเอดส์ของผู้รับบริการสาธารณสุขในอำเภอเมืองปทุมธานีจากสื่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับความรู้เรื่องโรคเอดส์ของผู้รับบริการสาธารณสุขในอำเภอเมืองปทุมธานี และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กับความรู้เรื่องโรคเอดส์ของผู้รับบริการสาธารณสุขในอำเภอเมืองปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้รับบริการสาธารณสุขในอำเภอเมืองปทุมธานีของปี พ.ศ. 2554 โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 397 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์

            ผลการวิจัย พบว่า  1)  กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในระดับสูง และส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์จาก 3 แหล่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมาเยี่ยมที่บ้าน และพบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยบังเอิญ 2) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคเอดส์อยู่ในระดับสูง 3) ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว และภูมิลำเนา มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องโรคเอดส์ของผู้รับบริการสาธารณสุขในอำเภอเมืองปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) การเปิดรับสื่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในด้าน ความถี่ในการรับฟัง ระยะเวลาในการรับฟัง และแหล่งที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องโรคเอดส์ของผู้รับบริการสาธารณสุขในอำเภอเมืองปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

 

The objectives of this research were to study: 1) the behavior of public health service clients at Mueang District, Pathum Thani Province in terms of exposure to media from Village Health Volunteers (VHV); 2) the public health service clients’ knowledge about AIDS; 3) the relationships between the clients’ demographic factors and their knowledge about AIDS; and 4) the relationships between clients’ exposure to media from VHV and their knowledge about AIDS.  This was a survey research. The sample population, chosen by simple random sampling, consisted of 397 people who received public health services in Mueang Pathum Thani in 2011. Data were collected using a questionnaire and statistically analyzed using percentage, mean, standard deviation and chi square.  The results showed that 1) The samples had a high level of exposure to media from VHVs. Most of them received information about AIDS from 3 sources: hospitals/community public health centers, home visits by VHVs or chance meetings with VHVs. 2) The samples had a high level of knowledge about AIDS. 3) The demographic factors of level of education, household income, and place of residence were related to the samples’ level of knowledge about AIDS to a statistically significant degree (p<0.05). 4) The factors of frequency of exposure to media from VHV, length of time of exposure to media from VHV, and source of information about AIDS were related to the samples’ knowledge of AIDS to a statistically significant degree (p<0.05).

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

มณินทรา สุขประเสริฐ

นักศึกษาระดับ ปริญญาโท สาขา นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช

พรสิทธิ์ พัฒนานุรักษ์

รองศาสตราจารย์ สาขา นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช

ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์

รองศาสตราจารย์ สาขา นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช

References

กนกรัตน์ สุขะวัฒนา. (2534). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับโรคเอดส์ กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันโรคเอดส์ของหญิงโสเภณี: กรณีศึกษาที่หน่วยควบคุมกามโรค อ.หาดใหญ่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กมลรัฐ อินทรทัศน์ .(2547). รูปแบบและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). ทฤษฎีและแนวทางการศึกษาสื่อสารมวลชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : แบรนด์เอจ.

จตุรงค์ ประดิษฐ์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธรีรัตน์ เชมนะสิริ และธนรักษ์ ผลิพัฒน์. (2549). ผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติด

เชื้อเอชไอวีกลุ่มประชากรทั่วไปอายุ 15-49 ปี พ.ศ. 2547. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2549 , กรุงเทพฯ: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ปรมะ สตะเวทิน. (2540). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ ภานุภาค. (2546). คู่มือความรู้เรื่องเอดส์. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์.

พรทิพย์ วรกิจโภคาทร (2541) ผู้รับสาร. ใน เอกสารประกอบชุดวิชาหลักทฤษฎีการสื่อสาร

หน่วยที่ 6. (ไม่ปรากฏเลขหน้า). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พีระ จิรโสภณ. (2546). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. สาร. ใน เอกสารประกอบชุดวิชาหลักทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 11. (ไม่ปรากฏเลขหน้า). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วริศรา วรลักษณ์. (2538). การเปิดรับข่าวสารความรู้เรื่องสิ่งเสพติดและการป้องกันสิ่งเสพติดจากสื่อมวลชนและสื่อบุคคลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงพยาบาลปทุมธานี. (2555). ข้อมูลโรงพยาบาล - โรงพยาบาลปทุมธานี สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 6, 2557, จาก http://www.pth.go.th/maincontent.php?contentID=3.

ศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2549). สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเอดส์. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์, 6, 2556, จาก http//epid.moph.go.th/epid 32-aids html.

สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต 11 จ.นครศรีธรรมราช. (2558). ประวัติ อสม. สืบค้นเมื่อ มกราคม 16, 2558, จาก http://www.nakhonphc.go.th/history_asm.php.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. (2553). สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ จังหวัดปทุมธานี ปี 2553. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน, 30, 2557, จาก http://cdpathumthani.com.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). จำนวนผู้ป่วยและตายด้วยโรคเอดส์ จำแนกรายปีที่ป่วย. สืบค้นเมื่อ 30, 2557, จาก www.boe.moph.go.th.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). อัตราผู้ป่วยโรคเอดส์ต่อประชากรแสนคนในพื้นที่ของจังหวัดในภาคกลาง. สืบค้นเมื่อ 30, 2557, จาก http://www.boe.moph.go.th/report.php?cat=11.

อรนุช งามขาว. (2543). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามกฎจราจรของประชาชนคนเดินเท้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2542). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.