การเสริมสร้างลักษณะผู้ประกอบการในชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองนาคำ ตำบลหนองระเวียงอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พระชำนิ โกสลฺโล (ศิรินอก)
สนิท สมัคการ
สุพรรณี ไชยอำพร

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. ศึกษาความหมาย คุณลักษณะของผู้ประกอบการในชุมชน                 2. ศึกษาแหล่งและวิธีเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้ประกอบการในชุมชน 3. ศึกษาปัญหา/อุปสรรค แนวทางแก้ไข การเสริมสร้างลักษณะผู้ประกอบการในชุมชน การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์    เชิงลึก (In–depth Interviews) เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการในชุมชน จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า

            1. ความหมายของผู้ประกอบการในชุมชน ชุมชนได้ให้ความหมายที่เน้นประเภทของผู้ประกอบการ     3 ประเภท คือ 1) ผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการ 2) เจ้าของกิจการ 3) ผู้จัดตั้งองค์กร และความหมายที่เน้นคุณลักษณะของผู้ประกอบการ 6 คุณลักษณะ คือ มีความทุ่มเทในการทำงาน มีเป้าหมายที่มุ่งหวังในผลกำไรหรือผลตอบแทน เข้าใจสภาพแวดล้อม/สังคม สร้างโอกาสให้กับตนเอง ยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน และผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และ

            คุณลักษณะของผู้ประกอบการในชุมชนมีคุณลักษณะที่สำคัญ 3 คุณลักษณะ คือ  1) คุณลักษณะนักธุรกิจ 2) คุณลักษณะของผู้นำตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) คุณลักษณะของนวัตกรรม

            2. แหล่งและวิธีการเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้ประกอบการในชุมชนมีแหล่งเสริมสร้างที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ 1) ครอบครัว ใช้วิธีการเสริมสร้างด้วยวิธีการปลูกฝังระเบียบพื้นฐาน สอนทักษะชีวิต สอนให้รู้จักบทบาท และปลูกฝังความมุ่งหวัง 2) กลุ่มอาชีพ ใช้วิธีการเสริมสร้างด้วยการสัมมนา การจัดทัศนะศึกษา การสาธิต การสอนงาน การปฏิบัติงานจริง และการประชุม   

            3. ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขในการเสริมสร้างลักษณะผู้ประกอบการ คือ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ควรร่วมมือกับชุมชนในการเสริมสร้างคนในชุมชนให้มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่จะเป็นผู้ประกอบการและยกระดับกิจการไปสู่ระดับภูมิภาค

 

 

This research aims to: 1. Study the meaning Characteristics of entrepreneurs in                   the community. 2. Study of ways and sources of entrepreneurship enhancement in the community. 3. Study of problems/obstacles and solutions to enhance entrepreneurship in the community. The study uses qualitative research methodology, with using in-depth interviews collected data from 15 community-based entrepreneurs. The study indicated that:

1. Meanings of Entrepreneurs in Communities which has given a definition that emphasizes the type of operator: 1) the vendor / service provider. 2) Owner 3) Organizer Focus on the characteristics of entrepreneurs. There are 6 types is to dedicated the works: to have a goal of profit or investment return, to understand the environment/society, to create opportunities for yourself, to accept the risk from investment and to have the creative thinking people. And characteristics of community entrepreneurs have three important attributes: 1) Business features 2) The characteristics of the leader according to Sufficiency Economy philosophy (3) The characteristics of innovator

2. The sources and methods of enhancing the characteristics of the entrepreneurs in the community are two main sources of strength: 1) the family uses the method of enrichment by cultivating basic principles, to teach life skills and teach the role 2) The occupational group used the method of strengthening with the seminar, Organizing excursions, demonstrations, coaching and practical work and meetings.

3. Problems/obstacles and solutions to strengthen entrepreneurship it is about giving people in the community a basic education level that makes to educate people in the community to learn more. And educational institutions must organize a program to promote the characteristics of entrepreneurs in the community. With allowing people in the community is to be participate in the curriculum.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

พระชำนิ โกสลฺโล (ศิรินอก)

นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สนิท สมัคการ

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 

สุพรรณี ไชยอำพร

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2543). คู่มือดำเนินธุรกิจ SMEs. กรงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2552). Sme สร้างไทยมั่นคง. กรงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม

คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (2559). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจ

ฐานราก”. กรุงเทพมหานคร. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

เจริญชัย ฉิมเนียม. (2547). วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ชุติภา โอภาสานนท์. (2543). ก้าวสู่ความเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. ภาควิชาสารัตถศึกษาคณะศิลปศาสตร์ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สถาบันราชภัฏสวนดุสิต. (2544). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สถาบัน.

สมคิด บางโม. (2553). การเป็นผู้ประกอบการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เอส เค บุ๊คส์.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอ าเภอพิมาย. 2557. ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน (ประชากร/ครัวเรือน). ค้นวันที 3

ตุลาคม 2559 จากhttp://www.cdd.go.th/web/nakhonratchasima/

อาชัญญา รัตนอุบล. (2540). กระบวนการฝึกอบรมสำหรับการศึกษานอกระบบโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ประชาชน.

Elkin, F. and Handel, G. 1978. The Child and So ciety : The Process of Socialization. 3rd ed. New York: Random House.