อนาคตผู้ประกอบการในยุค 4.0

Main Article Content

อาคีรา ราชเวียง

Abstract

บทความนี้ใช้การศึกษาและวิเคราะห์บนพื้นฐานของแนวคิด ทฤษฎี และหลักฐานวิจัยเชิงประจักษ์เกี่ยวกับอนาคตผู้ประกอบการในยุค 4.0 โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) อธิบายอนาคตผู้ประกอบการในยุค 4.0 2) วิเคราะห์ความสำคัญของอนาคตผู้ประกอบการในยุค 4.0 ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ในปัจจุบันผู้ประกอบการใหม่ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในปัจจุบันนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความสามารถเชิงนวัตกรรม ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแข่งขันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ สร้างโอกาสให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีโอกาสทางการตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ในปัจจุบันการบริโภคข้อมูลจากผู้คนได้เปลี่ยนไป โดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มใช้สื่อทางออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากการซื้อออนไลน์มีความสะดวกสบายต่อผู้บริโภค เพราะซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง สั่งซื้อได้ทุกที่ และที่สำคัญช่องทางนี้ต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ๆ การปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัลก็จะส่งผลให้ธุรกิจมีศักยภาพแข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต นอกเหนือไปจากการสร้างรายได้สูงสุดขององค์การแต่เพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้สังคมให้เกิดความสมดุลระหว่างระบบเศรษฐกิจและระบบนิเวศน์ การนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ในการทำธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำก็จะช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

 

This article uses the study and analysis based on concept, theory, and empirical evidence of online tourism advertising for the elderly group. This research aims at 1) Describe the future entrepreneur 4.0. 2) Analyzing the significances of the future entrepreneur for 4.0. As well as providing suggestions for Entrepreneur as a guide to building a successful business. To provide information to entrepreneur to create a competitive advantage for the organization. At present, new entrepreneurs of small and medium enterprises play an important role in Thailand's economic and social development. At present, entrepreneurs need innovative capabilities. This is a competitive tool that is critical to success. Make it easier for businesses to succeed. And there is a growing market opportunity in sequence. At present, the consumption of information from people has changed. Most likely to use more online media. Because online shopping is convenient for consumers. Because you can buy 24 hours a day, you can order anywhere. And most importantly, this channel is low cost compared to other channels. Adapting to the changing economies of the digital age will have the potential to grow and thrive in the future. In addition to maximizing organizational revenue, only The change that will bring about a balance between economic and ecological systems. Introducing new innovations to the business. Coupled with the economic and environmental solutions. More social responsibility In business from the upstream to the downstream, it will help the business grow sustainably.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

อาคีรา ราชเวียง

สาขาวิชาเทคโนโลยีโฆษณา คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

References

ไทยรัฐออนไลน์. (2559). ไขรหัส “ประเทศไทย 4.0” สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560, http://www.thairath.co.th/content/613903

ไทยรัฐออนไลน์. (2559). SME ไทยแลนด์ 4.0 ติดอาวุธไร้เทียมทาน. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2560, http://www.thairath.co.th/content/644179

นิตนา ฐานิตธนกร. (2553). ผู้ประกอบการ นวัตกรรมทางสังคม. วารสารนักบริหาร. 30(4), 16-20.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร. 31(4), 99-103.

พรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์. (2559). เศรษฐกิจดิจิทัล. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล อินเตอร์เนชั่นแนล/ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ยุทธชัย ฮารีบิน และคณะ. (2559). ความสามารถด้านเครือข่ายและความสามารถเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วาสารนักบริหาร. 36(2), 79-87.

วิกรานต์ มงคลจันทร์. (2558). Marketing for work งานการตลาดจากการวางแผน สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: อาคเนย์การพิมพ์.

เศรษฐกิจบางกอก. (2559). SMEs. 4.0 เศรษฐกิจสร้างมูลค่า ขายของแพง เทคโนโลยี ครีเอทีฟ. วารสารบางกอก Economy. 11(3), 16-17.

สุชาติ ไตรภพสกุล และสหัทยา ชูชาติพงษ์. (2557). แบบจำลองการพัฒนาสังคมความเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรมในประเทศไทย. วารสารนักบริหาร. 34(2), 26-36.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2560). SMEs 4.0 ติดปีกการค้าด้วย Digital Marketing. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2560, http://www.sipa.or.th/th/article/smes-40-ติดปีกการค้าด้วย-digital-marketing

สมใจ ศรีเนตร. (2560). แนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการใหม่ในธุรกิจอาเซียน. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 13(1), 113-122.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2556). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มุมมองด้านการบริหาร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Ali Zahedi and Ralf Otterpohl. (2015). Towards Sustainable Development by Creation of Green Social Entrepreneur’s Communities. Procedia CIRP. 26, 196-201.

Ashraf, M., Malik, B.T., 2011. Gonokendra model: a response to “information poverty” in

rural areas of Bangladesh. Inf. Technol. Dev. 17 (2), 153–161.

Dave Chaffey. (2015). Digital business and E-commerce management strategy, implementation and practice. 6th ed. United Kingdom: Pearson

Dhrmniti. (2559). จับประเด็นร้อน! “HR 4.0 TRENDS AND MOVE” ทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ THAILND 4.0. ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2560, https://dir.co.th.

Jone, o., & Tilley, F. (2003). Competitive advantage in SME: Towards a conceptual framework. West Sussex: John Wiley & Sons.

Mair, J. & Marti, I. (2006). Social entrepreneurship research: A source of explanation, prediction, and delight, Journal of World Business, 41, 36-44.

Manpower Group. (2559). เปิด 6 สายงานไอที อนาคตรุ่งรับยุค 4.0. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560, http://www.manpowerthailand.com/tris/content/detail/731-เปิด6สายงานไอทีอนาคตรุ่งรับยุค4-0

Marketeer. (2015). จาก Creating Shared Value (CSV) สู่นวัตกรรมที่สร้างมูลค่าและคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสีย. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2560, http://marketeer.co.th/archives/51867

Muhammad Habib ur Rehman, Victor Chang, Aisha Batool and The Ying Wah. (2016). Big data reduction framework for value creation in sustainable enterprises. International Journal of Information Management. 36, 917928.

Robert A. Baron and Jintong Tang. (2011). The role of entrepreneurs in firm-level innovation: Joint effects of positive affect, creativity, and environmental dynamism. Journal of Business Venturing 26, 49-60.

Smart SME. (2559). SME ไทยปรับตัวอย่างไรในโลกยุค 4.0. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2560,

http://www.smartsme.tv/content/37693

Smith, D. (2006). Exploring innovation. Maidenhead, Berkshire: McGraw-Hill.

Tang, L. and Koveos, P.E. (2004), “Venture entrepreneurship, innovation entrepreneurship and

economic growth”, Journal of Developmental Entrepreneurship, 3, 161-71.

Wright, L.T. and Nancarrow, C. (2001). “Improving marketing communication & innovation

strategies in the small business context”, Small Business Economics. 16(2), 113-123.